ซิมโฟนี (Symphony)
Arthur Jacobs ได้ให้คำนิยามของคำว่า ซิมโฟนี (Symphony) ในหนังสือ
A New Dictionary of Music ไว้ว่า “ a sounding - together” ซึ่งแปลตามศัพท์ได้ว่า
“เสียงที่รวมกัน” เป็นคำที่มาจากคำว่า “Sinfonia” ในต้นคริสต์
ศตวรรษที่ 17 ซิมโฟนีเป็นบทเพลงที่เป็นรูปแบบและนิยมประพันธ์
ในสมัยคลาสสิก (1750-1820) ในระยะแรก ๆ นั้น
ซิมโฟนียังมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนนัก แต่ก็มีความแตกต่างจากเพลง
ในสมัยบาโรค (Baroque) ต่อมาได้มีการปรับปรุงจนมาถึงสมัย
คลาสสิกทุกอย่างเริ่มมีแบบแผนมากขึ้น มีมาตรฐานที่เห็น
ชัดเจนขึ้น และใช้กันต่อมาจนถึงสมัยโรแมนติกและปัจจุบัน
บทเพลงซิมโฟนีที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยคลาสสิกถือว่า
เป็นต้นแบบของบทเพลงประเภทนี้และบทเพลงจำนวนมาก ประพันธ์โดย ไฮเดิล (ค.ศ.1732-1809) คีตกวีชาวออสเตรียนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น
“บิดาแห่งซิมโฟนี” ไฮเดิลได้ประพันธ์บทเพลงซิมโฟนีไว้รวมทั้งสิ้น 104 บท (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :115)
รูปแบบของซิมโฟนีบทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นเพลงขนาดใหญ่ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงประพันธ์ขึ้นอย่างมีกฏ
เกณฑ์และแบบแผนเพื่อใช้บรรเลงสำหรับวงออร์เคสตรา โดยทั่วไปบทเพลงซิมโฟนีประกอบด้วย
3-4 ท่อน (Movement) โดยมีการจัดรูปแบบของความเร็วจังหวะแต่ละท่อนมีความเร็วดังนี้
ท่อนที่ 1 (First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด ใช้รูปแบบโซ
นาตาอัลเลโกร (Sonata Allegro) มีลักษณะของความลึกซึ้งสลับซับซ้อน ความเร็วจังหวะใช้ใน
ลักษณะของ อัลเลโกร (Allegro)
ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนาทำนอง
หลักของบทเพลง (Theme) อาจใช้รูปแบบของแทร์นารี (ABA) มีลักษณะช้าใช้ในลักษณะของ
อันตาลเต (Andante), อะดาจิโอ (Adagio), หรือลาร์โก (Largo)
ท่อนที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียก
ว่า มีนูเอ็ท (Minuet) ลักษณะของโครงสร้างมักจะเป็นจังหวะเต้นรำมีการซ้ำทวนของทำนองต่าง ๆ
มากที่สุด ลักษณะของความเร็วแบบสนุกสนาน เร็ว อาจจะเป็น อัลเลโกร (Allegro),อัลเลเกร็ตโต
(Allegretto), วิวาเช (Vivace)
ท่อนที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่า
ท่อนอื่น บางครั้งก็เป็นลีลาที่แปรผันมาจากทำนองหลัก (Theme) ความเร็วของจังหวะมีลักษณะเร็ว
เร้าใจแบบอัลเลโกร (Allegro) หรืออัลเลเกร็ตโต(Allegretto), และ วิวาเช (Vivace)
คอนแชร์โต (Concerto)
ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2535 :80 - 81) ได้กล่าวถึงความหมายของคอนแชร์โตไว้ว่า.. เป็นคำ
ภาษาฝรั่งเศส มีความหมายว่าการนำมารวมกัน (To join together) คำว่า คอนแชร์โนนี้ใช้ใน
ความหมายที่เกี่ยวพันกับคำในภาษาอิตาเลียน คือ Concertare ซึ่งหมายถึง การรวมกัน กล่าวคือ
ผู้แสดงร้องหรือบรรเลงดนตรีร่วมกัน เช่น ผู้ร้องเดี่ยวร้องร่วมกับวงประสานเสียง วงประสานเสียง
สองวงร้องร่วมกัน ผู้ร้องร่วมแสดงกับวงดนตรี ความหมายเช่นนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 16 ถึงต้น
ศตวรรษที่ 18 ในช่วงศตวรรษที่ 17 ความหมายของคอนแชร์โต มีเพิ่มขึ้นมาโดยดึงรากศัพท์มาจาก
ภาษาละติน หมายถึง การประชันหรือสู้กัน (Fighting of Contending) ซึ่งมีความหมายถึงการ
ประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดี่ยวกับวงออร์เคสตรา อันเป็นความหมายที่ใช้ในปัจจุบันจึงเห็นได้
ว่า คอนแชร์โตมีความหมายหลายนัย การจะทราบว่า คอนแชร์โต หมายถึงสิ่งใดแน่จึงต้องดูถึง
สภาพการณ์หรือสถานการณ์ในการใช้คำนี้
คอนแชร์โต เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง การประชันหรือสู้กัน
(Fighting of Contending) มีความหมายถึงการประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดี่ยวกับวงออร์
เคสตรา คอนแชร์โตเป็นประเภทของบทเพลงที่ประกอบด้วย 3 ท่อน (Movement) คือ
ท่อนที่ 1 (First Movement) เป็นบทนำของเพลง ความเร็วจังหวะใช้ในลักษณะเร็ว
แบบ อัลเลโกร (Allegro)
ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนาทำนอง
หลักของบทเพลง(Theme)มีลักษณะช้าใช้ในลักษณะของอันตาลเต (Andante), อะดาจิโอ
(Adagio), หรือลาร์โก (Largo)
ท่อนที่ 3 (Third Movement) ลักษณะของโครงสร้างมักจะเป็นลักษณะของความเร็ว
แบบสนุกสนาน เร็ว อาจจะเป็น อัลเลโกร (Allegro),อัลเลเกร็ตโต(Allegretto), วิวาเช (Vivace)
เครื่องดนตรีที่นิยมนำมาประพันธ์เพื่อบรรเลงเดี่ยวประเภทคอนแชร์โตมักได้แก่ เปียโน,
ไวโอลิน, เชลโล, ฟลูท, หรือแม้กระทั่งระนาดเอก ก็ยังเคยนำมาทำเป็นบทเพลงประเภทคอนแชร์โต
ในการเขียนชื่อเพลงประเภทคอนแชร์โตนี้มักจะมีชื่อเครื่องดนตรีนั้น ๆ ปรากฏอยู่หน้าคำ
“Concerto” เช่น
- เปียโนคอนแชร์โต ในบันไดเสียง ซี เมเจอร์ ผลงานลำดับที่ 467 โดย โมทซาร์ท (Piano
Concerto in C Major, K.467 by Mozart)
- ไวโอลินคอนแชร์โน ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์ ผลงานลำดับที่ 61 โดย เบโธเฟน (Violin
Concerto in D Major, Op 61 by Beethoven)
โอเปรา (Opera)
โอเปรา คือ ละครที่มีเพลงและดนตรีเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่องราว โอเปราจึงเป็น
ผลรวมของศิลปะนานาชนิดเข้าด้วยกัน ตั้งแต่วรรณกรรม คือ บทร้อง เครื่องละคร การแสดง การ
เต้นรำ การร้องและการเล่นดนตรี ตลอดระยะเวลาร่วม 400 ปีที่เกิดมีโอเปราขึ้นมานั้น รูปแบบ
ของโอเปรามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่เสมอโอเปราจึงมีหลายประเภท
การที่จะซาบซึ้งในโอเปรานั้นอาจเกิดจากการฟังได้ อย่างไรก็ตามการเข้าใจและซาบซึ้งใน
โอเปราอย่างแท้จริงน่าจะเป็นผลของการมีประสบการณ์ที่ได้ชมการแสดงโอเปราจริง ๆ ซึ่งทำให้ได้
เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ดำเนินไปตั้งแต่การร้อง เสียงดนตรีประกอบการแสดง และฉาก สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้
ผู้ชมสามารถเข้าใจลักษณะของโอเปราและนำไปสู่ความซาบซึ้งได้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 89)
องค์ประกอบของโอเปรา องค์ประกอบสำคัญของโอเปราประกอบด้วย เนื้อเรื่อง ดนตรี และผู้แสดง
เนื้อเรื่องที่นำมาเป็นบทขับร้อง เป็นบทร้อยกรองที่มาจากตำนาน เทพนิยายนิทานโบราณ
และวรรณกรรมต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาทำเป็นบทร้อง และที่แต่งขึ้นใหม่สำหรับแสดงอุปรากรโดย
เฉพาะ โดยมีคีตกวีเป็นผู้แต่งทำนองดนตรี คีตกวีบางคนก็มีความสามารถแต่งเรื่องทำเนื้อเรื่องให้
เป็นบทร้อยกรองหรือบทละครสำหรับขับร้อง และแต่งดนตรีประกอบทั้งเรื่องด้วย
ดนตรี
ดนตรีในโอเปรานั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้โอเปรามีชีวิตจิตใจ มักเริ่มด้วยดนตรีบรรเลงโหมโรง
(Overture) บรรเลงประกอบบทร้อยกรองซึ่งเป็นบทขับร้อง ทั้งดำเนินเรื่องและเจรจากันตลอดทั้ง
เรื่อง ดนตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญจนโอเปราได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานของผู้ประพันธ์ดนตรี
หรือ คีตกวี (Composer) มากกว่าที่จะคิดถึงผู้ประพันธ์เนื้อเรื่อง หรือ บทขับร้อง เช่น โอเปราเรื่อง
Madame Butterfly Giacomo ของ Puccini (1878-1924)ปุกซินี เป็นคีตกวีที่แต่งดนตรีประกอบ
ผู้แต่งละครเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย คือ David Belasco (David Belasco ได้เค้าเรื่องนี้จาก
เรื่องสั้นของ John Luther Long) ผู้ร้อยกรองเนื้อเรื่องให้เป็นบทขับร้อง คือ Luigi lllica และ
Giuseppe Giacosa แต่เมื่อพูดถึงโอเปราเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายแล้ว ก็จะยกย่องให้เป็นผลงาน
ของคีตกวีปุกซินี มักไม่มีใครนึกถึงนักประพันธ์ หรือ กวีผู้ร้อยกรองเรื่องให้เป็นบทขับร้อง หรือโอ
เปราเรื่อง Carmen ของ Georges Bizet ที่มี Prosper Merimee เป็นผู้ประพันธ์เรื่อง และมี Henri
Meilhac และ Ludovic Halevy เป็นผู้ร้อยกรองบทขับร้อง แต่คนก็จะพูดกันถึงแต่เพียงว่าโอเปรา
เรื่องคาร์เมนของบิเซต์ ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเป็นวงออร์เคสตรา (Orchertral)
ผู้แสดง
ผู้แสดงโอเปรานอกจากต้องเป็นนักร้องที่เสียงไพเราะ ดังแจ่มใสกังวานมีพลังเสียงดีแข็ง
แรงร้องได้นาน ต้องฝึกฝนเป็นนักร้องอุปรากรโดยเฉพาะ แล้วยังเป็นผู้มีบทบาทยอดเยี่ยมด้วย เน้น
ในเรื่องน้ำเสียง ความสามรถในการขับร้อง และบทบาทมากกว่าความสวยงามและรูปร่างของผู้
แสดง มักให้นักร้องเสียงสูงทั้งหญิงและชายแสดงเป็นตัวเอกของเรื่อง โดยทั่วไป น้ำเสียงที่ใช้ในการ
ขับร้อง แบ่งเป็น 6 ระดับเสียง คือ เป็นน้ำเสียงนักร้องชาย 3 ระดับ และน้ำเสียงนักร้องหญิง 3
ระดับ ดังนี้
1. โซปราโน (Soprano) เป็นระดับเสียงสูงสุดของนักร้องหญิง
2. เมซโซ – โซปราโน (Mezzo - Soprano) เป็นระดับเสียงกลางของนักร้องหญิง
3. คอนทรัลโต หรือ อัลโต (Contralto or Alto) เป็นเสียงระดับต่ำสุดของนักร้องหญิง
4. เทเนอร์ (Tenor) เป็นเสียงระดับสูงสุดของนักร้องชาย
5. บาริโทน (Baritone) เป็นเสียงระดับกลางของนักร้องชาย
6. เบส (Bass) เป็นเสียงระดับต่ำสุดของนักร้องชาย
ลักษณะของโอเปรา
การศึกษาโอเปราให้เข้าใจถ่องแท้ ควรจะต้องศึกษาเนื้อเรื่องแต่ละเรื่องของโอเปรา รวมทั้ง
ฉากต่าง ๆ ผู้แสดง ดนตรี และเพลงด้วย ซึ่งไม่สามารถนำมากล่าวได้ ณ ที่นี้ สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
เป็นเพียงองค์ประกอบทั่ว ๆ ไป และประเภทของโอเปราเท่านั้น
ได้แบ่งลักษณะของโอเปรา ดังนี้
1. ลิเบรตโต (Libretto) คือเนื้อเรื่อง หรือบทละครของโอเปรา บางครั้งบทโอเปราอาจจะ
เป็นบทหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายหรือบทละครอื่น ๆ บางครั้งบทโอเปราก็เป็นบทที่ผู้ประพันธ์
แต่งเนื้อเรื่องขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้ประพันธ์เพลงใช้เป็นบทแต่งโอเปรา เช่น ดา ปองเต
(Da Ponte) เขียนบทโอเปราบางเรื่องให้กับโมทซาร์ท เช่น เรื่อง Don Giovanni บัวตา (Boita)
เขียนบทโอเปราบางเรื่องให้กับแวร์ดี เช่น เรื่อง Otella บางครั้งบทโอเปราเป็นบทประพันธ์ของผู้
ประพันธ์เพลงเองโดยแท้ เช่น วากเนอร์ ประพันธ์ Lohengrin และ The Flying Dutchman และ
เมโนตี (Menotti) ประพันธ์ The Telephone เป็นต้น
2. โอเวอร์เชอร์ (Overture) คือ บทประพันธ์ที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วน ๆ ใช้เป็น
เพลงนำก่อนการแสดงโอเปรา อาจเรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า “เพลงโหมโรง” บางครั้งอาจใช้คำว่า
เพรลูด (Prelude) แทนโอเวอร์เชอร์ เพลงโอเวอร์เชอร์อาจจะเป็นเพลงที่แสดงถึงบรรยากาศของ
โอเปราที่จะแสดง กล่าวคือ ถ้าโอเปราเป็นเรื่องเศร้าโอเวอร์เชอร์จะมีทำนองเศร้า ๆ อยู่ในที เป็นต้น
บางครั้งโอเวอร์เชอร์อาจเป็นเพลงที่รวมทำนองหลักของโอเปราฉากต่าง ๆ ไว้ก็ได้ โอเวอร์เชอร์มัก
เป็นเพลงสั้น ๆ ประมาณ 4-8 นาที ปกติจะใช้วงออร์เคสตราทั้งวงบรรเลง ถ้าโอเปราเรื่องนั้นใช้
วงออร์เคสตราประกอบ ลักษณะของเพลงโอเวอร์เชอร์ มักรวมเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรีไว้
อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นด้านความดัง – ค่อย , สีสัน ลีลาต่าง ๆ จึงทำให้โอเวอร์เชอร์เป็นบท
เพลงที่ชวนฟังโอเวอร์เชอร์ของโอเปราบางเรื่องมีความไพเราะเป็นที่นิยมฟังและบรรเลงเป็นเพลง
บทเพลงแรกของการแสดงคอนเสิร์ตโดยทั่วไป เช่น
- “Overture of The Marriage of Figaro” ของโมทซาร์ท
- “Overture of the Barder of Saville” ของ รอสซินี
- “Overture of Fidelio” ของเบโธเฟน
- “Overture of Carmen” ของบิเซต์ เป็นต้น
3. รีซิเททีฟ (Recitative) คือบทสนทนาในโอเปราที่ใช้การร้องแทนการใช้คำพูด อย่างไร
ก็ตามมักจะไม่เป็นทำนองเพลงมากนัก มักจะเน้นที่คำพูดมากกว่า แต่ก็มีดนตรีและการร้องช่วยทำ
ให้บทสนทนาน่าสนใจ เป็นลักษณะการร้องหรือดนตรีอีกประเภทหนึ่ง
4. อาเรีย (Aria) คือ บทร้องเดี่ยวในโอเปรา มีลักษณะตรงกันข้ามกับรีซิเททีฟ เนื่องจาก
เน้นการร้องและดนตรีเป็นหลัก มากกว่าจะเน้นการสนทนา อาเรียเป็นบทร้องที่ตัวละครตัวเดียวร้อง
ซึ่งจัดเป็นบทร้องที่
5.บทร้องประเภทสอง สาม สี่ และมากกว่านี้ของตัวละคร (Duo, Trio, and Other
Small Ensembles) บทร้องที่มีคนร้องสองคนแทนที่จะเป็นคนเดียวในลักษณะของอาเรียเรียกว่า
ดูโอ (Duo) ถ้าเป็น 3 คนร้องเรียกว่า ทรีโอ (Trio) สี่และห้าคนร้องเรียกว่า ควอเต็ต (Quartet) และ
ควินเต็ต (Quintet) และอาจมีมากกว่าห้าคนก็ได้ เช่น บทร้อง 6 คน (Sextet) “Lucia” จากเรื่อง
Rigoletto เป็นบทร้องที่มีชื่อเสียงของโอเปรามาก
6. บทร้องประสานเสียง (Chorus) ในโอเปราบางเรื่องที่มีฉากประกอบด้วยผู้เล่นเป็น
จำนวนมาก มักจะมีการร้องประสานเสียงเสมอ บทร้องประสานเสียงจากโอเปราที่มีชื่อเสียง เช่น
“The Anvil Chorus” จาก II Irovatore, “The Pilgrim’s Chorus” จาก “Tannhauser, The
Triumphal Chorus” จาก Aida
7. ออร์เคสตรา (Orchestra) วงออร์เคสตรานอกจากจะเล่นโอเวอร์แล้ว ยังใช้ประกอบ
การร้องในลักษณะต่าง ๆ ในโอเปราตลอดเรื่องในบางครั้งออร์เคสตราจะบรรเลงโดยไม่มีผู้ร้องเพื่อ
ต่อเนื่องการร้องหรือรีซิเททีฟแต่ละตอนหรือสร้างอารมณ์ในเนื้อเรื่องให้เข้มข้นขึ้นบางครั้ง
วงออร์เคสตราจะมีบทบาทในโอเปรามากทีเดียว เช่น โอเปรา ที่แต่งโดยวากเนอร์ มักจะเน้นการ
บรรเลงของวงออร์เคสตราเสมอ
8. ระบำ (Dance) ในโอเปราแทบทุกเรื่องมักจะมีบางตอนของฉากใด ฉากหนึ่งที่มีระบำ
ประกอบ ในบางครั้งอาจจะเป็นระบำบัลเลท์ ซึ่งมักจะเป็นของคู่กันโอเปราแบบฝรั่งเศส (French
Opera) บางครั้งอาจจะเป็นระบำในลักษณะอื่น ๆ เช่น ระบำพื้นเมือง การเต้นรำแบบต่าง ๆ เช่น
วอล์ท
9. องก์ และฉาก (Acts and Scenes) โอเปราก็เช่นเดียวกับละครทั่ว ๆ ไป มีการแบ่ง
เป็นตอน ๆ เรียกว่า องก์ และแบ่งย่อยลงไปเป็นฉาก เช่น Carmen เป็นโอเปรา ประกอบด้วย 4 องก์
เป็นต้น
10. ไลม์โมทีฟ (Leitmotif) ในโอเปราบางเรื่อง ผู้ประพันธ์จะมีแนวทำนองต่าง ๆ แทน
ตัวละครแต่ละตัว หรือแทนเหตุการณ์ สภาพการณ์ และแนวทำนองเหล่านี้จะปรากฏอยู่ตลอดเวลา
ในโอเปราเพื่อแทนตัวละครหรือเหตุการณ์นั้น ๆ วากเนอร์เป็นผู้หนึ่งที่ชอบใช้ไลท์โมทีฟ เช่น Ring
motive ของ Ring Cycle และ Love motive ใน Tristan and Isolde
ประเภทของโอเปรา
1. โอเปรา (Opera) โดยปกติคำว่า “โอเปรา” มักจะใช้จนเป็นที่เข้าใจว่า หมายถึง
โอเปราซีเรีย (Opera seria) หรือ Serious opera หรือ Grand opera ซึ่งเป็นโอเปราที่ผู้ชมต้องตั้ง
ใจดูอย่างมากเพราะการดำเนินเรื่องใช้บทร้องลักษณะต่าง ๆ และรีซิเททีฟไม่มีการพูดสนทนาซึ่งจัด
ว่าเป็นศิลปะดนตรีชั้นสูง เช่นเดียวกับการเข้าถึงศิลปะแขนงอื่น ๆ การชมโอเปราประเภทนี้จึงต้องมี
พื้นความรู้และมีความเข้าใจในองค์ประกอบของโอเปรา โดยเฉพาะด้านดนตรีเพื่อความซาบซึ้ง
อย่างแท้จริงเรื่องราวของโอเปราประเภทนี้มักจะเป็นเรื่องของความเก่งกาจของพระเอกหรือตัวนำ
หรือเป็นเรื่องโศกนาฏกรรม (Heroic or tragic drama)
2. โคมิค โอเปรา (Comic Opera) คือ โอเปราที่มักจะมีเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ตลก
ขบขันล้อเลียนคน หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ มักมีบทสนทนาที่ใช้พูดแทรกระหว่างบทเพลงร้อง โอเปรา
ประเภทนี้จะดูง่ายกว่าประเภทแรก เนื่องจากเนื้อเรื่องสนุกสนาน มีบทสนทนาแทรก ดนตรีและ
เพลงที่ฟังไพเราะไม่ยากเกินไป โคมิคโอเปรามีหลายประเภท เช่น Opera – comique (ฝรั่งเศส)
Opera buffa (อิตาเลียน) Ballad opera (อังกฤษ) และ Singspiel (เยอรมัน)
3. โอเปเรตตา (Operetta) โอเปอเรตตาจัดเป็นโอเปราขนาดเบามีแนวสนุกสนานทัน
สมัยอาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักกระจุ่มกระจุ๋ม คล้าย ๆ กับ โคมิคโอเปรา โดยปกติโอเปเรตตา
ใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา
4. คอนทินิวอัส โอเปรา (Continuous opera) เป็นโอเปราที่ผู้ประพันธ์ใช้ดนตรีเชื่อม
โยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ มิใช่เป็นการร้องหรือสนทนาที่เป็นช่วง ๆ ลักษณะของคอนทินิว
อัส โอเปรานี้วากเนอร์เป็นผู้นำและใช้เสมอในโอเปราที่เขาเป็นผู้ประพันธ์
โซนาตา (Sonata)โซนาตา เป็นคำภาษาอิตาเลียน (Italian Sonare, “to sound”) หมายถึง ฟัง จัดเป็นบท
เพลงที่มีความสำคัญและมีบทบาทตลอดมาตั้งแต่สมัยบาโรคจนถึงสมัยปัจจุบัน คล้ายคลึงกับ
ลักษณะของคอนแชร์โต โซนาตา มีอยู่สองลักษณะ คือ โซนาตาที่บรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องดนตรี
เล็ก ๆ ซึ่งเป็นโซนาตาแบบหนึ่งในสมัยบาโรค และโซนาตาที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีชนิดเดียว หรือ
สองชนิด แต่เน้นการแสดงออกของเครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียว โดยมีเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งคลอ
ให้บทเพลงสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งอาจเรียกว่า โซโลโซนาตาได้ โซนาตาในลักษณะนี้เป็นความหมายของ
โซนาตาที่ใช้กันตั้งแต่สมัยคลาสสิกจนถึงปัจจุบัน
ได้ให้ความหมายของคำว่า “โซนาตา”แปลว่า “เสียง” เมื่อพูดถึงโซนาตา อาจหมายถึง ประเภทของบทประพันธ์หรือประเภทของสังคีต
ลักษณ์ก็ได้ โซนาตาที่เป็นประเภทของบทประพันธ์ เป็นเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยว เช่น เปียโน
โซนาตา ก็คือ บทเพลงสำหรับเดี่ยวเปียโน ไวโอลินโซนาตา เป็นบทเพลงสำหรับเดี่ยวไวโอลิน ฟลูท
โซนาตา เป็นบทเพลงสำหรับเดี่ยวฟลูท อนึ่งเพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เปียโนจะมีเครื่อง
ดนตรีบรรเลงประกอบซึ่งมึกเป็นเปียโน บทบาทของเครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบในสมัยแรก ๆ
จะเป็นแนวสนับสนุนเท่านั้น แต่ในสมัยต่อ ๆ มา เครื่องดนตรีประกอบจะเปลี่ยนบทบาทเป็นการ
บรรเลงร่วมกันหรือโต้ตอบกันมากกว่า ความสำคัญของบทบาทใกล้เคียงกันมากขึ้น บทประพันธ
ประเภทโซนาตามักประกอบด้วย 3 หรือ 4 ท่อน ท่อนแรกมักอยู่ในอัตราจังหวะเร็ว ท่อนที่ 2 อยู่ใน
อัตราจังหวะช้า ท่อนที่ 3 มักอยู่บรรยากาศที่ร่าเริงสนุกสนานในจังหวะเต้นรำแบบมินูเอต
ประวัติของโซนาตาโซนาตา เป็นบทเพลงที่มีมาตั้งแต่สมัยบาโรค ซึ่งมีลักษณะเฉพาะต่างไปจากโซนาตาใน
สมัยคลาสสิก จึงเรียกว่า “บาโรคโซนาตา” โซนาตาในลักษณะนี้เป็นบทเพลงสำหรับวงดนตรีเล็กใน
ลักษณะของแชมเบอร์มิวสิก โดยมีเครื่องดนตรีตั้งแต่หนึ่งชิ้นจนถึงหกหรือแปดชนิด ทีนิยมมากใน
สมัยนี้ คือ ทริโอโซนาตาเป็นบทเพลงสำหรับไวโอลินสองเครื่องและเครื่องบรรเลงแนวเบส
(Continuo) อีกสองชิ้น โซนาตาในสมัยบาโรคมีสองลักษณะคือ โซนาตาสำหรับวัด (Church
sonata) เป็นเพลงชั้นสูงเน้นรูปแบบการสอดประสานทำนอง (Contrapuntal texture) ประกอบ
ด้วย 4 ท่อน (ช้า – เร็ว – ช้า - เร็ว) และโซนาตาคฤหัสถ์ (Chamber sonata) เป็นเพลงบรรเลงตาม
บ้านมีลักษณะเป็นเพลงชุดเต้นรำในรูปแบบของ Binary form เช่น ประกอบด้วย Prelude –
Allemande – Courante – Sarabande Gigue ( หรือ Gavotte)
ในสมัยคลาสสิก โซโลโซนาตาเริ่มเข้ามามีบทบาทมากกว่าบาโรคโซนาตา จึงเรียกโซโลโซ
นาตา อีกชื่อหนึ่งว่า “คลาสสิกโซนาตา” ลักษณะของโซนาตาในสมัยคลาสสิกตอนต้นยังมีลักษณะ
ไม่แน่นอนอาจจะมีเพียงท่อนเดียว หรือสามท่อน (เร็ว – ช้า - เร็ว) รูปแบบพัฒนามาเรื่อยจนมีรูป
แบบแน่นอน คือ มีลักษณะคล้ายซิมโฟนี คือ มี 4 ท่อน หรือ คล้ายคอนแชร์โต คือ มี 3 ท่อน เครื่อง
ดนตรีที่นิยมในการประพันธ์โซนาตา คือ เปียโน และไวโอลิน ไฮเดิน โมทซาร์ และเบโธเฟน คือผู้
ประพันธ์เพลงที่ให้ความสนใจกับการประพันธ์ เพลงประเภทนี้เช่นเดียวกับซิมโฟนีและคอนแชร์โต
ไฮเดินประพันธ์ โซนาตาไว้ทั้งหมด 62 บท โมทซาร์ทประพันธ์ไว้ 21 บท และประมาณ 37 บท
ประพันธ์โดยเบโธเฟน ปกติโซนาตาสำหรับเปียโนใช้เปียโนบรรเลงเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นโซนา
ตาของเครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น ไวโอลิน ฟลูท ทรัมเป็ต ฯลฯ มักใช้เปียโนคลอไปด้วย
ในสมัยโรแมนติก ผู้ประพันธ์เพลงคนสำคัญ ๆ ยังคงนิยมประพันธ์เพลงโซนาตา โดยเฉพาะ
เปียโนโซนาตา ไม่ว่าจะเป็น ชูเบิร์ท ชูมานน์ ลิสซท์ โชแปง และบราห์มส์ รวมทั้งผู้ประพันธ์รุ่นหลัง
เช่น ดวอชาค กรีก แซงค์ – ซองส์ สเตราส์ ไชคอฟสกี และวากเนอร์
โซนาตายังคงเป็นบทเพลงที่ผู้ประพันธ์ในศตวรรษที่ 20 สนใจ แม้จะมีบทเพลงในลักษณะ
อื่น ๆ ที่นิยมประพันธ์กันมากกว่าโซนาตา ผู้ประพันธ์เพลงในยุคนี้ที่มีผลงานด้านโซนาตา ได้แก่ เดอ
บูสซี เบิร์ก ไอฟส์ เป็นต้น (ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2535: 120)
ลักษณะของโซนาโตลักษณะที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นลักษณะของคลาสสิกโซนาตา ซึ่งเป็นรูปแบบที่สำคัญ ซึ่ง
ต่อมาในสมัยโรแมนติก และในสมัยปัจจุบันยังใช้ลักษณะเช่นนี้อยู่ ประกอบด้วย 3 หรือ 4 ท่อน ซึ่ง
มีรูปแบบแต่ละท่อนดังนี้
ท่อนแรก มีจังหวะเร็ว (Allegro) บางครั้งมีบทนำที่ช้า ใช้รูปแบบโซนาตาอัลเลโกรลักษณะ
ซับซ้อนเร้าใจ
ท่อนที่ 2 จังหวะช้า (Andante, Largo หรือ Lento) รูปแบบที่นิยม ได้แก่ Sonata –
allegro form, Ternary form, Binary form, Theme and Variation ลักษณะช้ามีแนวทำนอง
ไพเราะ เน้นการแสดงออกของอารมณ์
ท่อนที่ 3 มีจังหวะเร็วหรือค่อนข้างเร็ว (Allegro หรือ Allegretto) รูปแบบ คือ มินูเอท หรือ
สเคร์กโท (expanded ternary form) ลักษณะเป็นจังหวะเต้นรำส่วนใหญ่จะเป็นอัตราจังหวะ 3/4
ท่อนที่ 4 มีจังหวะเร็ว (Allegro, Presto) รูปแบบอาจจะเป็นโซนาตาอัลเลโกร หรือ รอนโด
ลักษณะเร็ว มีพลังในตอนจบ
ปกติโซนาตาที่มี 3 ท่อนจะตัดท่อนที่ 3 ออกไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าโซนาตามีลักษณะเช่น
เดียวกับซิมโฟนี หรือคอนแชร์โตนั่นเอง
โซนาตา เป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยว เช่น เปียโน จะใช้เปียโนบรรเลงเครื่องเดียว
เนื่องจากเปียโนสามารถบรรเลงทั้งแนวทำนองและแนวประสานเสียงได้ในเครื่องเดียวกัน ส่วน
โซนาตา สำหรับเครื่องดนตรีชนิดอื่นมักจะมีเปียโนเป็นเครื่องดนตรีประกอบ เนื่องจากเครื่องดนตรี
อื่น ๆ ไม่สามารถบรรเลงทั้งแนวทำนองและแนวประสานเสียงได้ เช่น ไวโอลินโซนาตา หมายถึงเป็น
โซนาตาสำหรับไวโอลิน โดยมีเปียโนคลอ ความสำคัญหรือจุดเด่นจะอยู่ที่ไวโอลินมากกว่าเปียโน
โซนาตาเป็นบทเพลงที่เน้นการแสดงออกของผู้บรรเลง เทคนิคของเครื่องมือ และแนวคิดของการ
ประพันธ์ จึงจัดเป็นเพลงที่น่าสนใจและศึกษาทั้งในลักษณะของการประพันธ์ และเทคนิควิธีเล่น
อย่างไรก็ตามเนื่องจากโซนาตาเป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียว สีสันจะมีไม่ได้มากเท่า
เพลงประเภทออร์เคสตรา แต่ความลึกซึ้งของเทคนิควิธีการประพันธ์ การแปรเปลี่ยนความซ้ำซาก
ให้ต่างออกไป ตลอดจนการใช้องค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรีเข้ามาเป็นหลักการประพันธ์ทำให้
โซนาตาเป็นเพลงที่น่าสนใจฟังตลอดมา
โครงสร้างของโซนาตาเนื่องจากรูปแบบของโซนาตาพัฒนามาจากรูปแบบสองตอนแบบย้อนกลับ จึงมีโครงสร้าง
เป็น 2 ตอน แต่เดิมรูปแบบของโซนาตาก็ใช้เครื่องหมายย้อยกลับ โดยในแต่ละตอนต้องเล่นซ้ำ แต่
ในเวลาต่อมาเมื่อเพลงยาวขึ้น บางครั้งผู้แต่งเขียนเครื่องหมายซ้ำเฉพาะในตอนแรก ส่วนในตอน
หลังไม่มีเครื่องหมายซ้ำ (Repeat) ในการบรรเลงจริงผู้เล่นอาจเคร่งครัดกับเครื่องหมายซ้ำหรือไม่ก็
ได้ ทำให้ระเบียบปฏิบัติในเรื่องของการซ้ำมีความจริงจังน้องลง อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งยังคิดเป็น 2
ตอนอยู่ดี เพียงแต่ต้องตัดการซ้ำออกไปเนื่องจากสัดส่วนที่ยาวเกินไป
จากรูปข้างต้นใน ตอน A B A’ ของรูปแบบสองตอนแบบย้อยกลับ ได้พัฒนาเป็นช่วงนำ
เสนอ (Exposition) ช่วงพัฒนา (Development) และช่วงย้อนความคิด (Recapitulation) ตาม
ลำดับ ช่วงนำเสนอต่างจากตอน A คือ ช่วงนำเสนอมี 2 ทำนอง ในขณะที่ตอน A มีความต่อเนื่อง
ไปจนจบตอน แต่ในช่วงนำเสนอสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรกมีทำนองหลักใน
กุญแจเสียงโทนิก (Tonic) ส่วนช่วงหลังเป็นทำนองรองในกุญแจเสียงใกล้เคียง เช่น โดมิแนนท์
(Dominant) หรือกุญแจเสียงร่วม ทำนองหลักและทำนองรองในบางเพลงมีความสำคัญไม่เท่ากัน
โดยปกติทำนองหลักมักสำคัญกว่าและจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนามากกว่า แต่บางเพลงทำนอง
รองกลับสำคัญกว่า ฉะนั้นการเรียกชื่อทำนองหลักและทำนองรองอาจสื่อความหมายว่าทำนองรอง
ต้องด้อยความสำคัญกว่าเสมอ จึงควรเรียกทำนองหลักว่า ทำนองที่หนึ่ง และเรียกทำนองรองว่า
ทำนองที่สอง ส่วนช่วงแรกในกุญแจเสียงโทนิกซึ่งมีทำนองที่หนึ่งอยู่ จะเรียกว่า ช่วงที่หนึ่ง และเรียก
ช่วงหลังว่า ช่วงที่สอง เพื่อให้สอดคล้องกัน ช่วงนำเสนอนี้จบด้วยกุญแจเสียงของช่วงที่สอง
ตอน B ของรูปแบบสองตอนแบบย้อนกลับได้กลายมาเป็นช่วงพัฒนาในรูปแบบโซนาตา
แต่อันที่จริงแนวความคิดพื้นฐานของตอน B และช่วงพัฒนานั้นต่างกัน กล่าวคือ ตอน B เป็นช่วงที่
นำเสนอทำนองใหม่ซึ่งเป็นความคิดใหม่ ในขณะที่ช่วงพัฒนาของรูปแบบโซนาตาเป็นการนำวัตถุ
ดิบจากช่วงนำเสนอมาพัฒนาให้ซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาอาจเป็นการนำหน่วยทำนองย่อยเอก
มาพัฒนาโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น ซีเควนซ์ การเลียน การซ้ำ การแปร ในกุญแจเสียงต่าง ๆ หรือ
อาจพัฒนาโดยการนำบางส่วนของทำนองมาแปรให้น่าสนใจ การยืมกุญแจเสียงและการเปลี่ยน
กุญแจเสียงเป็นเทคนิคที่นิยมมากในช่วงพัฒนานี้ ไม่ว่ากุญแจเสียงจะเปลี่ยนไปกี่ครั้ง แต่ในที่สุด
มักจบช่วงพัฒนาด้วยกุญแจเสียงโดมิแนนท์ ซึ่งเป็นกุญแจเสียงที่เตรียมกลับสู่กุญแจเสียงโทนิกใน
ช่วงต่อไปได้ง่ายที่สุด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันระหว่างตอน B ของรูปแบบสองตอนแบบย้อน
์กลับกับช่วงพัฒนาในรูปแบบโซนาตา ก็คือ เป็นช่วงที่มีความหนาแน่นของเนื้อหาเช่นกัน และน่าจะ
เป็นช่วงที่มีความยาวที่สุดของเพลง
ลักษณะอีกประการหนึ่งของการบรรเลงเพลงประเภทนี้ที่ต่างไปจากเพลงแชมเบอร์มิวสิก
คือ ผู้บรรเลงจะไม่ดูโน้ตเพลง ต้องบรรเลงจากความจำ จึงมีคำว่า “รีไซทอล” (Recital) เกิดขึ้น สิ่ง
นี้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้บรรเลงแสดงออกได้อย่างเต็มที่ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม ผู้บรรเลงใน
ลักษณะนี้มักเรียกว่า “เวอร์ทูโอโซ”
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า โซนาตาสำหรับวงออร์เคสตรา คือ ซิมโฟนี และซิมโฟนีสำหรับ
เครื่องดนตรีเดี่ยว คือ โซนาตา
ดนตรีประเภทบรรเลง (Instrumental Music)
ซิมโฟนี (Symphony)
Arthur Jacobs ได้ให้คำนิยามของคำว่า ซิมโฟนี (Symphony) ในหนังสือ
A New Dictionary of Music ไว้ว่า “ a sounding - together” ซึ่งแปลตามศัพท์ได้ว่า
“เสียงที่รวมกัน” เป็นคำที่มาจากคำว่า “Sinfonia” ในต้นคริสต์
ศตวรรษที่ 17 ซิมโฟนีเป็นบทเพลงที่เป็นรูปแบบและนิยมประพันธ์
ในสมัยคลาสสิก (1750-1820) ในระยะแรก ๆ นั้น
ซิมโฟนียังมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนนัก แต่ก็มีความแตกต่างจากเพลง
ในสมัยบาโรค (Baroque) ต่อมาได้มีการปรับปรุงจนมาถึงสมัย
คลาสสิกทุกอย่างเริ่มมีแบบแผนมากขึ้น มีมาตรฐานที่เห็น
ชัดเจนขึ้น และใช้กันต่อมาจนถึงสมัยโรแมนติกและปัจจุบัน
บทเพลงซิมโฟนีที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยคลาสสิกถือว่า
เป็นต้นแบบของบทเพลงประเภทนี้และบทเพลงจำนวนมาก ประพันธ์โดย ไฮเดิล (ค.ศ.1732-1809) คีตกวีชาวออสเตรียนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น
“บิดาแห่งซิมโฟนี” ไฮเดิลได้ประพันธ์บทเพลงซิมโฟนีไว้รวมทั้งสิ้น 104 บท (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :115)
รูปแบบของซิมโฟนีบทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นเพลงขนาดใหญ่ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงประพันธ์ขึ้นอย่างมีกฏ
เกณฑ์และแบบแผนเพื่อใช้บรรเลงสำหรับวงออร์เคสตรา โดยทั่วไปบทเพลงซิมโฟนีประกอบด้วย
3-4 ท่อน (Movement) โดยมีการจัดรูปแบบของความเร็วจังหวะแต่ละท่อนมีความเร็วดังนี้
ท่อนที่ 1 (First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด ใช้รูปแบบโซ
นาตาอัลเลโกร (Sonata Allegro) มีลักษณะของความลึกซึ้งสลับซับซ้อน ความเร็วจังหวะใช้ใน
ลักษณะของ อัลเลโกร (Allegro)
ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนาทำนอง
หลักของบทเพลง (Theme) อาจใช้รูปแบบของแทร์นารี (ABA) มีลักษณะช้าใช้ในลักษณะของ
อันตาลเต (Andante), อะดาจิโอ (Adagio), หรือลาร์โก (Largo)
ท่อนที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียก
ว่า มีนูเอ็ท (Minuet) ลักษณะของโครงสร้างมักจะเป็นจังหวะเต้นรำมีการซ้ำทวนของทำนองต่าง ๆ
มากที่สุด ลักษณะของความเร็วแบบสนุกสนาน เร็ว อาจจะเป็น อัลเลโกร (Allegro),อัลเลเกร็ตโต
(Allegretto), วิวาเช (Vivace)
ท่อนที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่า
ท่อนอื่น บางครั้งก็เป็นลีลาที่แปรผันมาจากทำนองหลัก (Theme) ความเร็วของจังหวะมีลักษณะเร็ว
เร้าใจแบบอัลเลโกร (Allegro) หรืออัลเลเกร็ตโต(Allegretto), และ วิวาเช (Vivace)
คอนแชร์โต (Concerto)
ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2535 :80 - 81) ได้กล่าวถึงความหมายของคอนแชร์โตไว้ว่า.. เป็นคำ
ภาษาฝรั่งเศส มีความหมายว่าการนำมารวมกัน (To join together) คำว่า คอนแชร์โนนี้ใช้ใน
ความหมายที่เกี่ยวพันกับคำในภาษาอิตาเลียน คือ Concertare ซึ่งหมายถึง การรวมกัน กล่าวคือ
ผู้แสดงร้องหรือบรรเลงดนตรีร่วมกัน เช่น ผู้ร้องเดี่ยวร้องร่วมกับวงประสานเสียง วงประสานเสียง
สองวงร้องร่วมกัน ผู้ร้องร่วมแสดงกับวงดนตรี ความหมายเช่นนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 16 ถึงต้น
ศตวรรษที่ 18 ในช่วงศตวรรษที่ 17 ความหมายของคอนแชร์โต มีเพิ่มขึ้นมาโดยดึงรากศัพท์มาจาก
ภาษาละติน หมายถึง การประชันหรือสู้กัน (Fighting of Contending) ซึ่งมีความหมายถึงการ
ประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดี่ยวกับวงออร์เคสตรา อันเป็นความหมายที่ใช้ในปัจจุบันจึงเห็นได้
ว่า คอนแชร์โตมีความหมายหลายนัย การจะทราบว่า คอนแชร์โต หมายถึงสิ่งใดแน่จึงต้องดูถึง
สภาพการณ์หรือสถานการณ์ในการใช้คำนี้
คอนแชร์โต เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง การประชันหรือสู้กัน
(Fighting of Contending) มีความหมายถึงการประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดี่ยวกับวงออร์
เคสตรา คอนแชร์โตเป็นประเภทของบทเพลงที่ประกอบด้วย 3 ท่อน (Movement) คือ
ท่อนที่ 1 (First Movement) เป็นบทนำของเพลง ความเร็วจังหวะใช้ในลักษณะเร็ว
แบบ อัลเลโกร (Allegro)
ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนาทำนอง
หลักของบทเพลง(Theme)มีลักษณะช้าใช้ในลักษณะของอันตาลเต (Andante), อะดาจิโอ
(Adagio), หรือลาร์โก (Largo)
ท่อนที่ 3 (Third Movement) ลักษณะของโครงสร้างมักจะเป็นลักษณะของความเร็ว
แบบสนุกสนาน เร็ว อาจจะเป็น อัลเลโกร (Allegro),อัลเลเกร็ตโต(Allegretto), วิวาเช (Vivace)
เครื่องดนตรีที่นิยมนำมาประพันธ์เพื่อบรรเลงเดี่ยวประเภทคอนแชร์โตมักได้แก่ เปียโน,
ไวโอลิน, เชลโล, ฟลูท, หรือแม้กระทั่งระนาดเอก ก็ยังเคยนำมาทำเป็นบทเพลงประเภทคอนแชร์โต
ในการเขียนชื่อเพลงประเภทคอนแชร์โตนี้มักจะมีชื่อเครื่องดนตรีนั้น ๆ ปรากฏอยู่หน้าคำ
“Concerto” เช่น
- เปียโนคอนแชร์โต ในบันไดเสียง ซี เมเจอร์ ผลงานลำดับที่ 467 โดย โมทซาร์ท (Piano
Concerto in C Major, K.467 by Mozart)
- ไวโอลินคอนแชร์โน ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์ ผลงานลำดับที่ 61 โดย เบโธเฟน (Violin
Concerto in D Major, Op 61 by Beethoven)
โอเปรา (Opera)
โอเปรา คือ ละครที่มีเพลงและดนตรีเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่องราว โอเปราจึงเป็น
ผลรวมของศิลปะนานาชนิดเข้าด้วยกัน ตั้งแต่วรรณกรรม คือ บทร้อง เครื่องละคร การแสดง การ
เต้นรำ การร้องและการเล่นดนตรี ตลอดระยะเวลาร่วม 400 ปีที่เกิดมีโอเปราขึ้นมานั้น รูปแบบ
ของโอเปรามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่เสมอโอเปราจึงมีหลายประเภท
การที่จะซาบซึ้งในโอเปรานั้นอาจเกิดจากการฟังได้ อย่างไรก็ตามการเข้าใจและซาบซึ้งใน
โอเปราอย่างแท้จริงน่าจะเป็นผลของการมีประสบการณ์ที่ได้ชมการแสดงโอเปราจริง ๆ ซึ่งทำให้ได้
เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ดำเนินไปตั้งแต่การร้อง เสียงดนตรีประกอบการแสดง และฉาก สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้
ผู้ชมสามารถเข้าใจลักษณะของโอเปราและนำไปสู่ความซาบซึ้งได้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 89)
องค์ประกอบของโอเปรา องค์ประกอบสำคัญของโอเปราประกอบด้วย เนื้อเรื่อง ดนตรี และผู้แสดง
เนื้อเรื่องที่นำมาเป็นบทขับร้อง เป็นบทร้อยกรองที่มาจากตำนาน เทพนิยายนิทานโบราณ
และวรรณกรรมต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาทำเป็นบทร้อง และที่แต่งขึ้นใหม่สำหรับแสดงอุปรากรโดย
เฉพาะ โดยมีคีตกวีเป็นผู้แต่งทำนองดนตรี คีตกวีบางคนก็มีความสามารถแต่งเรื่องทำเนื้อเรื่องให้
เป็นบทร้อยกรองหรือบทละครสำหรับขับร้อง และแต่งดนตรีประกอบทั้งเรื่องด้วย
ดนตรี
ดนตรีในโอเปรานั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้โอเปรามีชีวิตจิตใจ มักเริ่มด้วยดนตรีบรรเลงโหมโรง
(Overture) บรรเลงประกอบบทร้อยกรองซึ่งเป็นบทขับร้อง ทั้งดำเนินเรื่องและเจรจากันตลอดทั้ง
เรื่อง ดนตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญจนโอเปราได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานของผู้ประพันธ์ดนตรี
หรือ คีตกวี (Composer) มากกว่าที่จะคิดถึงผู้ประพันธ์เนื้อเรื่อง หรือ บทขับร้อง เช่น โอเปราเรื่อง
Madame Butterfly Giacomo ของ Puccini (1878-1924)ปุกซินี เป็นคีตกวีที่แต่งดนตรีประกอบ
ผู้แต่งละครเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย คือ David Belasco (David Belasco ได้เค้าเรื่องนี้จาก
เรื่องสั้นของ John Luther Long) ผู้ร้อยกรองเนื้อเรื่องให้เป็นบทขับร้อง คือ Luigi lllica และ
Giuseppe Giacosa แต่เมื่อพูดถึงโอเปราเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายแล้ว ก็จะยกย่องให้เป็นผลงาน
ของคีตกวีปุกซินี มักไม่มีใครนึกถึงนักประพันธ์ หรือ กวีผู้ร้อยกรองเรื่องให้เป็นบทขับร้อง หรือโอ
เปราเรื่อง Carmen ของ Georges Bizet ที่มี Prosper Merimee เป็นผู้ประพันธ์เรื่อง และมี Henri
Meilhac และ Ludovic Halevy เป็นผู้ร้อยกรองบทขับร้อง แต่คนก็จะพูดกันถึงแต่เพียงว่าโอเปรา
เรื่องคาร์เมนของบิเซต์ ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเป็นวงออร์เคสตรา (Orchertral)
ผู้แสดง
ผู้แสดงโอเปรานอกจากต้องเป็นนักร้องที่เสียงไพเราะ ดังแจ่มใสกังวานมีพลังเสียงดีแข็ง
แรงร้องได้นาน ต้องฝึกฝนเป็นนักร้องอุปรากรโดยเฉพาะ แล้วยังเป็นผู้มีบทบาทยอดเยี่ยมด้วย เน้น
ในเรื่องน้ำเสียง ความสามรถในการขับร้อง และบทบาทมากกว่าความสวยงามและรูปร่างของผู้
แสดง มักให้นักร้องเสียงสูงทั้งหญิงและชายแสดงเป็นตัวเอกของเรื่อง โดยทั่วไป น้ำเสียงที่ใช้ในการ
ขับร้อง แบ่งเป็น 6 ระดับเสียง คือ เป็นน้ำเสียงนักร้องชาย 3 ระดับ และน้ำเสียงนักร้องหญิง 3
ระดับ ดังนี้
1. โซปราโน (Soprano) เป็นระดับเสียงสูงสุดของนักร้องหญิง
2. เมซโซ – โซปราโน (Mezzo - Soprano) เป็นระดับเสียงกลางของนักร้องหญิง
3. คอนทรัลโต หรือ อัลโต (Contralto or Alto) เป็นเสียงระดับต่ำสุดของนักร้องหญิง
4. เทเนอร์ (Tenor) เป็นเสียงระดับสูงสุดของนักร้องชาย
5. บาริโทน (Baritone) เป็นเสียงระดับกลางของนักร้องชาย
6. เบส (Bass) เป็นเสียงระดับต่ำสุดของนักร้องชาย
ลักษณะของโอเปรา
การศึกษาโอเปราให้เข้าใจถ่องแท้ ควรจะต้องศึกษาเนื้อเรื่องแต่ละเรื่องของโอเปรา รวมทั้ง
ฉากต่าง ๆ ผู้แสดง ดนตรี และเพลงด้วย ซึ่งไม่สามารถนำมากล่าวได้ ณ ที่นี้ สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
เป็นเพียงองค์ประกอบทั่ว ๆ ไป และประเภทของโอเปราเท่านั้น
ได้แบ่งลักษณะของโอเปรา ดังนี้
1. ลิเบรตโต (Libretto) คือเนื้อเรื่อง หรือบทละครของโอเปรา บางครั้งบทโอเปราอาจจะ
เป็นบทหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายหรือบทละครอื่น ๆ บางครั้งบทโอเปราก็เป็นบทที่ผู้ประพันธ์
แต่งเนื้อเรื่องขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้ประพันธ์เพลงใช้เป็นบทแต่งโอเปรา เช่น ดา ปองเต
(Da Ponte) เขียนบทโอเปราบางเรื่องให้กับโมทซาร์ท เช่น เรื่อง Don Giovanni บัวตา (Boita)
เขียนบทโอเปราบางเรื่องให้กับแวร์ดี เช่น เรื่อง Otella บางครั้งบทโอเปราเป็นบทประพันธ์ของผู้
ประพันธ์เพลงเองโดยแท้ เช่น วากเนอร์ ประพันธ์ Lohengrin และ The Flying Dutchman และ
เมโนตี (Menotti) ประพันธ์ The Telephone เป็นต้น
2. โอเวอร์เชอร์ (Overture) คือ บทประพันธ์ที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วน ๆ ใช้เป็น
เพลงนำก่อนการแสดงโอเปรา อาจเรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า “เพลงโหมโรง” บางครั้งอาจใช้คำว่า
เพรลูด (Prelude) แทนโอเวอร์เชอร์ เพลงโอเวอร์เชอร์อาจจะเป็นเพลงที่แสดงถึงบรรยากาศของ
โอเปราที่จะแสดง กล่าวคือ ถ้าโอเปราเป็นเรื่องเศร้าโอเวอร์เชอร์จะมีทำนองเศร้า ๆ อยู่ในที เป็นต้น
บางครั้งโอเวอร์เชอร์อาจเป็นเพลงที่รวมทำนองหลักของโอเปราฉากต่าง ๆ ไว้ก็ได้ โอเวอร์เชอร์มัก
เป็นเพลงสั้น ๆ ประมาณ 4-8 นาที ปกติจะใช้วงออร์เคสตราทั้งวงบรรเลง ถ้าโอเปราเรื่องนั้นใช้
วงออร์เคสตราประกอบ ลักษณะของเพลงโอเวอร์เชอร์ มักรวมเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรีไว้
อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นด้านความดัง – ค่อย , สีสัน ลีลาต่าง ๆ จึงทำให้โอเวอร์เชอร์เป็นบท
เพลงที่ชวนฟังโอเวอร์เชอร์ของโอเปราบางเรื่องมีความไพเราะเป็นที่นิยมฟังและบรรเลงเป็นเพลง
บทเพลงแรกของการแสดงคอนเสิร์ตโดยทั่วไป เช่น
- “Overture of The Marriage of Figaro” ของโมทซาร์ท
- “Overture of the Barder of Saville” ของ รอสซินี
- “Overture of Fidelio” ของเบโธเฟน
- “Overture of Carmen” ของบิเซต์ เป็นต้น
3. รีซิเททีฟ (Recitative) คือบทสนทนาในโอเปราที่ใช้การร้องแทนการใช้คำพูด อย่างไร
ก็ตามมักจะไม่เป็นทำนองเพลงมากนัก มักจะเน้นที่คำพูดมากกว่า แต่ก็มีดนตรีและการร้องช่วยทำ
ให้บทสนทนาน่าสนใจ เป็นลักษณะการร้องหรือดนตรีอีกประเภทหนึ่ง
4. อาเรีย (Aria) คือ บทร้องเดี่ยวในโอเปรา มีลักษณะตรงกันข้ามกับรีซิเททีฟ เนื่องจาก
เน้นการร้องและดนตรีเป็นหลัก มากกว่าจะเน้นการสนทนา อาเรียเป็นบทร้องที่ตัวละครตัวเดียวร้อง
ซึ่งจัดเป็นบทร้องที่
5.บทร้องประเภทสอง สาม สี่ และมากกว่านี้ของตัวละคร (Duo, Trio, and Other
Small Ensembles) บทร้องที่มีคนร้องสองคนแทนที่จะเป็นคนเดียวในลักษณะของอาเรียเรียกว่า
ดูโอ (Duo) ถ้าเป็น 3 คนร้องเรียกว่า ทรีโอ (Trio) สี่และห้าคนร้องเรียกว่า ควอเต็ต (Quartet) และ
ควินเต็ต (Quintet) และอาจมีมากกว่าห้าคนก็ได้ เช่น บทร้อง 6 คน (Sextet) “Lucia” จากเรื่อง
Rigoletto เป็นบทร้องที่มีชื่อเสียงของโอเปรามาก
6. บทร้องประสานเสียง (Chorus) ในโอเปราบางเรื่องที่มีฉากประกอบด้วยผู้เล่นเป็น
จำนวนมาก มักจะมีการร้องประสานเสียงเสมอ บทร้องประสานเสียงจากโอเปราที่มีชื่อเสียง เช่น
“The Anvil Chorus” จาก II Irovatore, “The Pilgrim’s Chorus” จาก “Tannhauser, The
Triumphal Chorus” จาก Aida
7. ออร์เคสตรา (Orchestra) วงออร์เคสตรานอกจากจะเล่นโอเวอร์แล้ว ยังใช้ประกอบ
การร้องในลักษณะต่าง ๆ ในโอเปราตลอดเรื่องในบางครั้งออร์เคสตราจะบรรเลงโดยไม่มีผู้ร้องเพื่อ
ต่อเนื่องการร้องหรือรีซิเททีฟแต่ละตอนหรือสร้างอารมณ์ในเนื้อเรื่องให้เข้มข้นขึ้นบางครั้ง
วงออร์เคสตราจะมีบทบาทในโอเปรามากทีเดียว เช่น โอเปรา ที่แต่งโดยวากเนอร์ มักจะเน้นการ
บรรเลงของวงออร์เคสตราเสมอ
8. ระบำ (Dance) ในโอเปราแทบทุกเรื่องมักจะมีบางตอนของฉากใด ฉากหนึ่งที่มีระบำ
ประกอบ ในบางครั้งอาจจะเป็นระบำบัลเลท์ ซึ่งมักจะเป็นของคู่กันโอเปราแบบฝรั่งเศส (French
Opera) บางครั้งอาจจะเป็นระบำในลักษณะอื่น ๆ เช่น ระบำพื้นเมือง การเต้นรำแบบต่าง ๆ เช่น
วอล์ท
9. องก์ และฉาก (Acts and Scenes) โอเปราก็เช่นเดียวกับละครทั่ว ๆ ไป มีการแบ่ง
เป็นตอน ๆ เรียกว่า องก์ และแบ่งย่อยลงไปเป็นฉาก เช่น Carmen เป็นโอเปรา ประกอบด้วย 4 องก์
เป็นต้น
10. ไลม์โมทีฟ (Leitmotif) ในโอเปราบางเรื่อง ผู้ประพันธ์จะมีแนวทำนองต่าง ๆ แทน
ตัวละครแต่ละตัว หรือแทนเหตุการณ์ สภาพการณ์ และแนวทำนองเหล่านี้จะปรากฏอยู่ตลอดเวลา
ในโอเปราเพื่อแทนตัวละครหรือเหตุการณ์นั้น ๆ วากเนอร์เป็นผู้หนึ่งที่ชอบใช้ไลท์โมทีฟ เช่น Ring
motive ของ Ring Cycle และ Love motive ใน Tristan and Isolde
ประเภทของโอเปรา
1. โอเปรา (Opera) โดยปกติคำว่า “โอเปรา” มักจะใช้จนเป็นที่เข้าใจว่า หมายถึง
โอเปราซีเรีย (Opera seria) หรือ Serious opera หรือ Grand opera ซึ่งเป็นโอเปราที่ผู้ชมต้องตั้ง
ใจดูอย่างมากเพราะการดำเนินเรื่องใช้บทร้องลักษณะต่าง ๆ และรีซิเททีฟไม่มีการพูดสนทนาซึ่งจัด
ว่าเป็นศิลปะดนตรีชั้นสูง เช่นเดียวกับการเข้าถึงศิลปะแขนงอื่น ๆ การชมโอเปราประเภทนี้จึงต้องมี
พื้นความรู้และมีความเข้าใจในองค์ประกอบของโอเปรา โดยเฉพาะด้านดนตรีเพื่อความซาบซึ้ง
อย่างแท้จริงเรื่องราวของโอเปราประเภทนี้มักจะเป็นเรื่องของความเก่งกาจของพระเอกหรือตัวนำ
หรือเป็นเรื่องโศกนาฏกรรม (Heroic or tragic drama)
2. โคมิค โอเปรา (Comic Opera) คือ โอเปราที่มักจะมีเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ตลก
ขบขันล้อเลียนคน หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ มักมีบทสนทนาที่ใช้พูดแทรกระหว่างบทเพลงร้อง โอเปรา
ประเภทนี้จะดูง่ายกว่าประเภทแรก เนื่องจากเนื้อเรื่องสนุกสนาน มีบทสนทนาแทรก ดนตรีและ
เพลงที่ฟังไพเราะไม่ยากเกินไป โคมิคโอเปรามีหลายประเภท เช่น Opera – comique (ฝรั่งเศส)
Opera buffa (อิตาเลียน) Ballad opera (อังกฤษ) และ Singspiel (เยอรมัน)
3. โอเปเรตตา (Operetta) โอเปอเรตตาจัดเป็นโอเปราขนาดเบามีแนวสนุกสนานทัน
สมัยอาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักกระจุ่มกระจุ๋ม คล้าย ๆ กับ โคมิคโอเปรา โดยปกติโอเปเรตตา
ใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา
4. คอนทินิวอัส โอเปรา (Continuous opera) เป็นโอเปราที่ผู้ประพันธ์ใช้ดนตรีเชื่อม
โยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ มิใช่เป็นการร้องหรือสนทนาที่เป็นช่วง ๆ ลักษณะของคอนทินิว
อัส โอเปรานี้วากเนอร์เป็นผู้นำและใช้เสมอในโอเปราที่เขาเป็นผู้ประพันธ์
โซนาตา (Sonata)โซนาตา เป็นคำภาษาอิตาเลียน (Italian Sonare, “to sound”) หมายถึง ฟัง จัดเป็นบท
เพลงที่มีความสำคัญและมีบทบาทตลอดมาตั้งแต่สมัยบาโรคจนถึงสมัยปัจจุบัน คล้ายคลึงกับ
ลักษณะของคอนแชร์โต โซนาตา มีอยู่สองลักษณะ คือ โซนาตาที่บรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องดนตรี
เล็ก ๆ ซึ่งเป็นโซนาตาแบบหนึ่งในสมัยบาโรค และโซนาตาที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีชนิดเดียว หรือ
สองชนิด แต่เน้นการแสดงออกของเครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียว โดยมีเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งคลอ
ให้บทเพลงสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งอาจเรียกว่า โซโลโซนาตาได้ โซนาตาในลักษณะนี้เป็นความหมายของ
โซนาตาที่ใช้กันตั้งแต่สมัยคลาสสิกจนถึงปัจจุบัน
ได้ให้ความหมายของคำว่า “โซนาตา”แปลว่า “เสียง” เมื่อพูดถึงโซนาตา อาจหมายถึง ประเภทของบทประพันธ์หรือประเภทของสังคีต
ลักษณ์ก็ได้ โซนาตาที่เป็นประเภทของบทประพันธ์ เป็นเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยว เช่น เปียโน
โซนาตา ก็คือ บทเพลงสำหรับเดี่ยวเปียโน ไวโอลินโซนาตา เป็นบทเพลงสำหรับเดี่ยวไวโอลิน ฟลูท
โซนาตา เป็นบทเพลงสำหรับเดี่ยวฟลูท อนึ่งเพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เปียโนจะมีเครื่อง
ดนตรีบรรเลงประกอบซึ่งมึกเป็นเปียโน บทบาทของเครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบในสมัยแรก ๆ
จะเป็นแนวสนับสนุนเท่านั้น แต่ในสมัยต่อ ๆ มา เครื่องดนตรีประกอบจะเปลี่ยนบทบาทเป็นการ
บรรเลงร่วมกันหรือโต้ตอบกันมากกว่า ความสำคัญของบทบาทใกล้เคียงกันมากขึ้น บทประพันธ
ประเภทโซนาตามักประกอบด้วย 3 หรือ 4 ท่อน ท่อนแรกมักอยู่ในอัตราจังหวะเร็ว ท่อนที่ 2 อยู่ใน
อัตราจังหวะช้า ท่อนที่ 3 มักอยู่บรรยากาศที่ร่าเริงสนุกสนานในจังหวะเต้นรำแบบมินูเอต
ประวัติของโซนาตาโซนาตา เป็นบทเพลงที่มีมาตั้งแต่สมัยบาโรค ซึ่งมีลักษณะเฉพาะต่างไปจากโซนาตาใน
สมัยคลาสสิก จึงเรียกว่า “บาโรคโซนาตา” โซนาตาในลักษณะนี้เป็นบทเพลงสำหรับวงดนตรีเล็กใน
ลักษณะของแชมเบอร์มิวสิก โดยมีเครื่องดนตรีตั้งแต่หนึ่งชิ้นจนถึงหกหรือแปดชนิด ทีนิยมมากใน
สมัยนี้ คือ ทริโอโซนาตาเป็นบทเพลงสำหรับไวโอลินสองเครื่องและเครื่องบรรเลงแนวเบส
(Continuo) อีกสองชิ้น โซนาตาในสมัยบาโรคมีสองลักษณะคือ โซนาตาสำหรับวัด (Church
sonata) เป็นเพลงชั้นสูงเน้นรูปแบบการสอดประสานทำนอง (Contrapuntal texture) ประกอบ
ด้วย 4 ท่อน (ช้า – เร็ว – ช้า - เร็ว) และโซนาตาคฤหัสถ์ (Chamber sonata) เป็นเพลงบรรเลงตาม
บ้านมีลักษณะเป็นเพลงชุดเต้นรำในรูปแบบของ Binary form เช่น ประกอบด้วย Prelude –
Allemande – Courante – Sarabande Gigue ( หรือ Gavotte)
ในสมัยคลาสสิก โซโลโซนาตาเริ่มเข้ามามีบทบาทมากกว่าบาโรคโซนาตา จึงเรียกโซโลโซ
นาตา อีกชื่อหนึ่งว่า “คลาสสิกโซนาตา” ลักษณะของโซนาตาในสมัยคลาสสิกตอนต้นยังมีลักษณะ
ไม่แน่นอนอาจจะมีเพียงท่อนเดียว หรือสามท่อน (เร็ว – ช้า - เร็ว) รูปแบบพัฒนามาเรื่อยจนมีรูป
แบบแน่นอน คือ มีลักษณะคล้ายซิมโฟนี คือ มี 4 ท่อน หรือ คล้ายคอนแชร์โต คือ มี 3 ท่อน เครื่อง
ดนตรีที่นิยมในการประพันธ์โซนาตา คือ เปียโน และไวโอลิน ไฮเดิน โมทซาร์ และเบโธเฟน คือผู้
ประพันธ์เพลงที่ให้ความสนใจกับการประพันธ์ เพลงประเภทนี้เช่นเดียวกับซิมโฟนีและคอนแชร์โต
ไฮเดินประพันธ์ โซนาตาไว้ทั้งหมด 62 บท โมทซาร์ทประพันธ์ไว้ 21 บท และประมาณ 37 บท
ประพันธ์โดยเบโธเฟน ปกติโซนาตาสำหรับเปียโนใช้เปียโนบรรเลงเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นโซนา
ตาของเครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น ไวโอลิน ฟลูท ทรัมเป็ต ฯลฯ มักใช้เปียโนคลอไปด้วย
ในสมัยโรแมนติก ผู้ประพันธ์เพลงคนสำคัญ ๆ ยังคงนิยมประพันธ์เพลงโซนาตา โดยเฉพาะ
เปียโนโซนาตา ไม่ว่าจะเป็น ชูเบิร์ท ชูมานน์ ลิสซท์ โชแปง และบราห์มส์ รวมทั้งผู้ประพันธ์รุ่นหลัง
เช่น ดวอชาค กรีก แซงค์ – ซองส์ สเตราส์ ไชคอฟสกี และวากเนอร์
โซนาตายังคงเป็นบทเพลงที่ผู้ประพันธ์ในศตวรรษที่ 20 สนใจ แม้จะมีบทเพลงในลักษณะ
อื่น ๆ ที่นิยมประพันธ์กันมากกว่าโซนาตา ผู้ประพันธ์เพลงในยุคนี้ที่มีผลงานด้านโซนาตา ได้แก่ เดอ
บูสซี เบิร์ก ไอฟส์ เป็นต้น (ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2535: 120)
ลักษณะของโซนาโตลักษณะที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นลักษณะของคลาสสิกโซนาตา ซึ่งเป็นรูปแบบที่สำคัญ ซึ่ง
ต่อมาในสมัยโรแมนติก และในสมัยปัจจุบันยังใช้ลักษณะเช่นนี้อยู่ ประกอบด้วย 3 หรือ 4 ท่อน ซึ่ง
มีรูปแบบแต่ละท่อนดังนี้
ท่อนแรก มีจังหวะเร็ว (Allegro) บางครั้งมีบทนำที่ช้า ใช้รูปแบบโซนาตาอัลเลโกรลักษณะ
ซับซ้อนเร้าใจ
ท่อนที่ 2 จังหวะช้า (Andante, Largo หรือ Lento) รูปแบบที่นิยม ได้แก่ Sonata –
allegro form, Ternary form, Binary form, Theme and Variation ลักษณะช้ามีแนวทำนอง
ไพเราะ เน้นการแสดงออกของอารมณ์
ท่อนที่ 3 มีจังหวะเร็วหรือค่อนข้างเร็ว (Allegro หรือ Allegretto) รูปแบบ คือ มินูเอท หรือ
สเคร์กโท (expanded ternary form) ลักษณะเป็นจังหวะเต้นรำส่วนใหญ่จะเป็นอัตราจังหวะ 3/4
ท่อนที่ 4 มีจังหวะเร็ว (Allegro, Presto) รูปแบบอาจจะเป็นโซนาตาอัลเลโกร หรือ รอนโด
ลักษณะเร็ว มีพลังในตอนจบ
ปกติโซนาตาที่มี 3 ท่อนจะตัดท่อนที่ 3 ออกไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าโซนาตามีลักษณะเช่น
เดียวกับซิมโฟนี หรือคอนแชร์โตนั่นเอง
โซนาตา เป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยว เช่น เปียโน จะใช้เปียโนบรรเลงเครื่องเดียว
เนื่องจากเปียโนสามารถบรรเลงทั้งแนวทำนองและแนวประสานเสียงได้ในเครื่องเดียวกัน ส่วน
โซนาตา สำหรับเครื่องดนตรีชนิดอื่นมักจะมีเปียโนเป็นเครื่องดนตรีประกอบ เนื่องจากเครื่องดนตรี
อื่น ๆ ไม่สามารถบรรเลงทั้งแนวทำนองและแนวประสานเสียงได้ เช่น ไวโอลินโซนาตา หมายถึงเป็น
โซนาตาสำหรับไวโอลิน โดยมีเปียโนคลอ ความสำคัญหรือจุดเด่นจะอยู่ที่ไวโอลินมากกว่าเปียโน
โซนาตาเป็นบทเพลงที่เน้นการแสดงออกของผู้บรรเลง เทคนิคของเครื่องมือ และแนวคิดของการ
ประพันธ์ จึงจัดเป็นเพลงที่น่าสนใจและศึกษาทั้งในลักษณะของการประพันธ์ และเทคนิควิธีเล่น
อย่างไรก็ตามเนื่องจากโซนาตาเป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียว สีสันจะมีไม่ได้มากเท่า
เพลงประเภทออร์เคสตรา แต่ความลึกซึ้งของเทคนิควิธีการประพันธ์ การแปรเปลี่ยนความซ้ำซาก
ให้ต่างออกไป ตลอดจนการใช้องค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรีเข้ามาเป็นหลักการประพันธ์ทำให้
โซนาตาเป็นเพลงที่น่าสนใจฟังตลอดมา
โครงสร้างของโซนาตาเนื่องจากรูปแบบของโซนาตาพัฒนามาจากรูปแบบสองตอนแบบย้อนกลับ จึงมีโครงสร้าง
เป็น 2 ตอน แต่เดิมรูปแบบของโซนาตาก็ใช้เครื่องหมายย้อยกลับ โดยในแต่ละตอนต้องเล่นซ้ำ แต่
ในเวลาต่อมาเมื่อเพลงยาวขึ้น บางครั้งผู้แต่งเขียนเครื่องหมายซ้ำเฉพาะในตอนแรก ส่วนในตอน
หลังไม่มีเครื่องหมายซ้ำ (Repeat) ในการบรรเลงจริงผู้เล่นอาจเคร่งครัดกับเครื่องหมายซ้ำหรือไม่ก็
ได้ ทำให้ระเบียบปฏิบัติในเรื่องของการซ้ำมีความจริงจังน้องลง อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งยังคิดเป็น 2
ตอนอยู่ดี เพียงแต่ต้องตัดการซ้ำออกไปเนื่องจากสัดส่วนที่ยาวเกินไป
จากรูปข้างต้นใน ตอน A B A’ ของรูปแบบสองตอนแบบย้อยกลับ ได้พัฒนาเป็นช่วงนำ
เสนอ (Exposition) ช่วงพัฒนา (Development) และช่วงย้อนความคิด (Recapitulation) ตาม
ลำดับ ช่วงนำเสนอต่างจากตอน A คือ ช่วงนำเสนอมี 2 ทำนอง ในขณะที่ตอน A มีความต่อเนื่อง
ไปจนจบตอน แต่ในช่วงนำเสนอสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรกมีทำนองหลักใน
กุญแจเสียงโทนิก (Tonic) ส่วนช่วงหลังเป็นทำนองรองในกุญแจเสียงใกล้เคียง เช่น โดมิแนนท์
(Dominant) หรือกุญแจเสียงร่วม ทำนองหลักและทำนองรองในบางเพลงมีความสำคัญไม่เท่ากัน
โดยปกติทำนองหลักมักสำคัญกว่าและจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนามากกว่า แต่บางเพลงทำนอง
รองกลับสำคัญกว่า ฉะนั้นการเรียกชื่อทำนองหลักและทำนองรองอาจสื่อความหมายว่าทำนองรอง
ต้องด้อยความสำคัญกว่าเสมอ จึงควรเรียกทำนองหลักว่า ทำนองที่หนึ่ง และเรียกทำนองรองว่า
ทำนองที่สอง ส่วนช่วงแรกในกุญแจเสียงโทนิกซึ่งมีทำนองที่หนึ่งอยู่ จะเรียกว่า ช่วงที่หนึ่ง และเรียก
ช่วงหลังว่า ช่วงที่สอง เพื่อให้สอดคล้องกัน ช่วงนำเสนอนี้จบด้วยกุญแจเสียงของช่วงที่สอง
ตอน B ของรูปแบบสองตอนแบบย้อนกลับได้กลายมาเป็นช่วงพัฒนาในรูปแบบโซนาตา
แต่อันที่จริงแนวความคิดพื้นฐานของตอน B และช่วงพัฒนานั้นต่างกัน กล่าวคือ ตอน B เป็นช่วงที่
นำเสนอทำนองใหม่ซึ่งเป็นความคิดใหม่ ในขณะที่ช่วงพัฒนาของรูปแบบโซนาตาเป็นการนำวัตถุ
ดิบจากช่วงนำเสนอมาพัฒนาให้ซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาอาจเป็นการนำหน่วยทำนองย่อยเอก
มาพัฒนาโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น ซีเควนซ์ การเลียน การซ้ำ การแปร ในกุญแจเสียงต่าง ๆ หรือ
อาจพัฒนาโดยการนำบางส่วนของทำนองมาแปรให้น่าสนใจ การยืมกุญแจเสียงและการเปลี่ยน
กุญแจเสียงเป็นเทคนิคที่นิยมมากในช่วงพัฒนานี้ ไม่ว่ากุญแจเสียงจะเปลี่ยนไปกี่ครั้ง แต่ในที่สุด
มักจบช่วงพัฒนาด้วยกุญแจเสียงโดมิแนนท์ ซึ่งเป็นกุญแจเสียงที่เตรียมกลับสู่กุญแจเสียงโทนิกใน
ช่วงต่อไปได้ง่ายที่สุด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันระหว่างตอน B ของรูปแบบสองตอนแบบย้อน
์กลับกับช่วงพัฒนาในรูปแบบโซนาตา ก็คือ เป็นช่วงที่มีความหนาแน่นของเนื้อหาเช่นกัน และน่าจะ
เป็นช่วงที่มีความยาวที่สุดของเพลง
ลักษณะอีกประการหนึ่งของการบรรเลงเพลงประเภทนี้ที่ต่างไปจากเพลงแชมเบอร์มิวสิก
คือ ผู้บรรเลงจะไม่ดูโน้ตเพลง ต้องบรรเลงจากความจำ จึงมีคำว่า “รีไซทอล” (Recital) เกิดขึ้น สิ่ง
นี้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้บรรเลงแสดงออกได้อย่างเต็มที่ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม ผู้บรรเลงใน
ลักษณะนี้มักเรียกว่า “เวอร์ทูโอโซ”
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า โซนาตาสำหรับวงออร์เคสตรา คือ ซิมโฟนี และซิมโฟนีสำหรับ
เครื่องดนตรีเดี่ยว คือ โซนาตา |