คีตกวียุคต่างๆ

 

 

บาค (Johann Sebastian Bach 1685-1750)
เกิดวันที่ 21 มีนาคม 1685 ที่เมืองไอเซนาค (Eisenach) ประเทศเยอรมันเกิดในตระกูลนัก ดนตรีได้รับการศึกษาเกี่ยวกับดนตรีจากพ่อซึ่งเป็นนักไวโอลินในราช สำนักชื่อโยฮัน อัมโบรซีอุส บาค(Johann Ambrosius Bach) และญาติหลังจากพ่อเสียชีวิตลง บาคได้ไปอาศัยอยู่กับพี่ชายโยฮันน์ คริสโตฟ บาค (Johann Chistoph Bach) และบาคก็ขอให้พี่ชายช่วยสอนเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดให้ ต่อมาเรียนออร์แกนกับครูออร์แกนชื่อ เอลีอาส เฮอร์เดอร์ (Elias Herder) บาคเรียนเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดได้เร็วมากพี่ชายเห็นบาคก้าวหน้าทางดนตรีและเล่นดนตรีเก่ง พอ ๆ กับตนเลยเกิดความอิจฉากลัวน้องจะเกินหน้าเกินตาจึงเก็บโน้ตดนตรีของตนทั้งหมดใส่ตู้ไม่ให้บาคเอาไปเล่น
เมื่ออายุได้ 15 ปี เขาก็เริ่มเลี้ยงตัวเองโดยการเป็นนักออร์แกนและหัวหน้าวงประสานเสียงตามโบสถ์หลายแห่งในประเทศเยอรมันปี 1723 บาค ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยเพลงร้องที่โบสถ์ St.Thomas’ Church ในเมือง Leipzig ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งสูงสุดทางดนตรีของโบสถ์ในนิกาย Luther
บาคเป็นนักออร์แกนและคลาเวียร์ที่มีฝีมือยอดเยี่ยมมากทีเดียว เขาเป็นผู้คิดวิธีการเล่นคลาเวียร์โดยการใช้หัวแม่มือและนิ้วก้อยเพิ่มเข้าไปเป็นคนแรก เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่มีใครเคยทำกันมาก่อน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ในการเล่นคลาเวียร์ในสมัยต่อมา
บาคแต่งงานกับญาติตัวเองชื่อ มาเรีย บาร์บารา (Maria Barbara) ในวันที่ 17 ตุลาคม ค. ศ. 1707 เมื่อเขาอายุได้ 20 ปี และมีลูก 7 คนก่อนที่เธอจะเสียชีวิตลงในปี 1720 บาคแต่งงานอีกครั้งกับนักดนตรีสาวชื่อแอนนา แมกดาเลนา วิลเคน (Anna Magdalena Wilcken) เดือนธันวาคม ค. ศ. 1721 และมีลูกด้วยกันอีก 13 คน ในบรรดาลูกทั้ง 20 คนมีเพียงคาร์ล ฟิลลิป เอมานูเอล (Carl Philip Emanuel Bach) ลูกคนที่ 2 และ โยฮัน คริสเตียน บาค (Johann Christian Bach) ลูกคนสุดท้องที่ได้กลายมาเป็นคีตกวีสำคัญในสมัยต่อ ๆ มา
บาคถึงแก่กรรมเมื่อ ปี ค. ศ. 1750 ไม่มีใครเอาใจใส่เก็บรักษาผลงานของเขาไว้เลยปล่อยให้กระจัดกระจายหายไปมากต่อมาปี ค. ศ. 1829 เกือบร้อยปีหลังจากที่บาคถึงแก่กรรม เฟลิกซ์ เม็นเดิลโซห์น (Felix Mendelssohn) คีตกวีชาวเยอรมันได้นำเพลงเซ็นต์ แม็ทธิว แพ็สชั่น (St. Matthew Passion) ของบาคออกแสดงที่กรุงเบอร์ลิน จึงทำให้ชื่อเสียงของบาคเริ่มเป็นที่รู้จักขยายวงกว้างออกไปทำให้คนเห็นคุณค่างานของเขา นอกจากนี้ยังถือว่าการถึงแก่กรรมของในปี ค. ศ. 1750 เป็นเครื่องหมายของการสิ้นสุดดนตรีสมัยบาโรคด้วย

อันโตนีโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi)
เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2221 (ค.ศ. 1678) ที่เมืองเวนีส ประเทศอิตาลี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2284 (ค.ศ. 1741) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย วีวัลดีเป็นคีตกวี ชาวอิตาลี ผู้เป็นหนึ่งในคีตกวีสำคัญในสมัยบาโรก
บิดาของเขานอกจากจะเป็นช่างตัดผมแล้ว ยังเป็นนักไวโอลินที่มีความสามารถอีกด้วย บิดาของวิวัลดิได้ช่วยให้เขาเริ่มต้นอาชีพนักดนตรี และให้เขาได้เข้าร่วมวงออร์เคสตร้าแห่ง คาปเปลล่า ดิ ซาน มาร์โค ที่ซึ่งเขารับบทบาทนักไวโอลินที่ผู้ชมโปรดปราน
ในปี พ.ศ. 2246(ค.ศ. 1703) เขาได้กลายเป็นบาทหลวง แต่ก็เป็นครูสอนไวโอลินที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ออสปิดาเล เด ลา ปีเอตา ไปพร้อมกัน ที่นั่นเขาได้สอนเด็กกำพร้าผู้หญิงให้ตั้งวงออเคสตร้าหญิงล้วนขึ้น ซึ่งได้กลายเป็นวงออร์เคสตร้าที่มีเอกลักษณ์ที่สุดวงหนึ่งในสมัยนั้น จนสามารถดึงดูดเศรษฐีชาวต่างชาติมาชมการแสดงได้มาก อิทธิพลของวิวัลดิที่มีต่อดนตรีตะวันตกนั้นมีมากมาย เขาเป็นผู้สร้างคอนแชร์โต้แบบที่มีนักเดี่ยวเครื่องดนตรี และเป็นต้นแบบให้คีตกวีรุ่นหลังนิยมทำตาม ทั้งในสมัยคลาสสิก และ โรแมนติก โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค ที่ได้รู้จักกับวีวัลดีชื่นชมเขามากจนกระทั่งได้ยืมหัวข้อที่วิวัลดิกล่าวถึงไว้หลายหัวข้อมาถ่ายทอด หรือปรับเปลี่ยนใหม่

ฮันเดล (George Frideric Handel,1685-1759)
เกิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1685 เกิดที่เมืองฮันเล (Halle) ประเทศเยอรมันแต่มามีชื่อเสียงและมีชีวิตในประเทศอังกฤษภายหลังแปลงสัญชาติเป็นอังกฤษ ฮันเดลเกิดในตระกูลผู้มีอันจะกิน พ่อเป็นหมอชื่อ Handel
ในสมัยเด็กพ่อหวังให้ฮันเดลเรียนกฎหมายแต่ฮันเดลไม่ชอบแต่ดูเหมือนเขาไม่ชอบจึงเลือกทางที่ตัวเองชอบคือดนตรีฮันเดลสนใจดนตรีตั้งแต่เด็กเขาสามารถเล่นไวโอลิน ฮาร์ปสิคอร์ด โอโบ และออร์แกนได้เมื่ออายุได้เพียง 11 ปี
ถึงแม้พ่อของเขาจะไม่เต็มใจให้ลูกชายเรียนดนตรีแต่ก็ต้องจำใจส่งลูกไปเรียนดนตรีตามคำแนะนำของท่านดยุดผู้ที่เคารพนับถือ ดังนั้นเขาจึงได้เรียนออร์แกน และฮาร์ปสิคอร์ดกับครูดนตรีซึ่งเป็นนักออร์แกนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดผู้หนึ่งชื่อฟริดริค วิลเฮล์ม ซาเคา (Friedrich Wilheim Zachow) เป็นนักออร์แกนประจำอยู่ที่ Liebfrauenkirche ในเมืองฮัลเล นอกจากออร์แกนและฮาร์ปสิคอร์ดแล้วฮันเดลยังได้เรียนเทคนิคการเล่นไวโอลิน โอโบ คลาเวียร์ ตลอดจนการประสานเสียงและเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) รวมทั้งแนวการแต่งเพลงเบื้องต้น แต่เครื่องดนตรีที่เขาเล่นได้ดีเป็นพิเศษคือฮาร์ปสิคอร์ด
ในปี ค. ศ. 1703 ฮันเดลเริ่มประพันธ์ อิตาเลียนโอเปร่า (Italian Operas) ตั้งแต่ปี 1706-1710
เขาอยู่ในอิตาลี ได้มีโอกาสคลุกคลีและใกล้ชิดกับบุคคลชั้นนำทางดนตรีของอิตาเลียนหลายคน เช่น โดเมนีโค สคาร์แลทตี (Domenico Scarlatti) นักเล่นฮาร์ปสิคอร์ดและอาร์แคนเจโล คอเรลลี (Arcangelo Corelli) นักไวโอลินจากการคลุกคลีใกล้ชิดทำให้ฮันเดลได้รับอิทธิพลของทำนองเพลงอิตาเลียน
หลังกลับจากอิตาลีขณะนั้นฮัลเดลอายุย่าง 25 ปี ได้เดินทางไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการ วงดนตรีของท่านผู้ครองนครแห่งแฮโนเวอร์ (Hanover) ฮัลเดลทำงานอย่างไม่มีความสุข จากนั้นจึงย้ายไปที่กรุงลอนดอนในปี 1710 ฮันเดลเปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Rinaldo ขึ้นที่โรงละคร Haymarket Theater ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับ
หลังกลับจากอิตาลีขณะนั้นฮัลเดลอายุย่าง 25 ปี ได้เดินทางไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการ วงดนตรีของท่านผู้ครองนครแห่งแฮโนเวอร์ (Hanover) ฮัลเดลทำงานอย่างไม่มีความสุข จากนั้นจึงย้ายไปที่กรุงลอนดอนในปี 1710 ฮันเดลเปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Rinaldo ขึ้นที่โรงละคร Haymarket Theater ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับจากชาวลอนดอนอย่างล้นหลาม
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ ค. ศ. 1711-1715 นั้น เขาเป็นแขกของท่านลอร์ด เบอร์ลิงตัน (Lord Burlington) และพักที่คฤหาสน์ของท่าน พอถึงวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของสมเด็จพระราชินีแอนน์
(Queen Anne) ฮันเดลก็ได้เปิดการแสดงดนตรีขึ้นเป็นการเฉลิมฉลองและเพื่อถวายพระพร ต่อมาพระราชินีแอนน์ ทรงโปรดเขามากพระนางได้พระราชทานเงินเป็นเบี้ยเลียงชีพให้แก่เขาปีละ 200 ปอนด์ หลังจากพระราชินีแอนน์เสด็จสวรรคต พระเจ้ายอร์จที่ 1 (King George I of England) ขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ทรงโปรดดนตรีมากที่สุดและจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้เขาเป็น 2 เท่า หรือ ปีละ 400 ปอนด์
ตลอดชีวิตของฮันเดลไม่เคยแต่งงานเลย เขาอุทิศเวลาทั้งหมดให้แก่งานทางดนตรี เพลงของเขาที่แต่งขึ้นประกอบด้วย เพลงอุปรากรทั้งหมด 46 เรื่อง ออราทอริโอ 32 บท Italian Solo Cantatas 28 เพลง
Chamber duets 20 เพลงและเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ กว่า 100 เพลง
ในวัยชราฮันเดลตาบอดต้องอาศัยเพื่อนสนิทผู้หนึ่งเป็นผู้คอยช่วยเหลือทำทุก ๆ อย่าง แม้ตาจะบอดแต่เขาก็ไม่ทิ้งงานประพันธ์ดนตรีโดยอาศัยเพื่อนผู้นี้เป็นคนคอยจดตามที่ฮันเดลบอก เขาถึงแก่กรรมวันที่ 14 เมษายน 1759 อายุ 74 ปี ศพถูกฝังไว้ในวิหารเวสต์มันสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina, ประมาณ 1524-1594)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียนซึ่งใช้ชื่อเมืองเกิดเป็นชื่อเรียกแทนชื่อจริง ๆ ปาเลสตรินาใช้เวลาส่วนใหญ่รับใช้สันตะปาปาปอลที่ 4 ในช่วงระยะเวลานี้เขาได้สร้างสรรค์งานประเภทเพลงโบสถ์ ประกอบไปด้วยเพลงแมส 105 บท โมเต็ต และเพลงโบสถ์ลักษณะอื่น ๆ ซึ่งจัดเป็นเพลงที่มีรูปแบบของการสอดประสานทำนองที่มีคุณค่ามากที่สุด ส่วนหนึ่งในโลกของดนตรีสมัยรีเนซองส์ โดยเฉพาะแมสบทหนึ่งที่มีชื่อว่า Missa Papae Marcelli (Mass for Pope Marcellus) ที่มีความบริสุทธิ์สวยงามชวนให้ผู้ฟังนึกถึง สวรรค์นอกจากเพลAB สถ์เขาประพันธ์เพลงคฤหัสถ์ได้เป็นจำนวนมากเช่นกันได้แก่เพลงมาดริกาล 4 เล่ม สำหรับการร้อง 4 และ 5 แนวและเพลงสำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีก 8 บท ซึ่งเพลงต่าง ๆ ล้วนจัดว่าเป็นเพลงในระดับคุณภาพทั้งสิ้น มีน้อยเพลงที่ไม่ถึงระดับคุณภาพนอกเหนือไปจากการเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่โด่งดัง เขายังเป็นนักร้องประสานเสียงในโบสถ์ และหัวหน้านักร้องประสานเสียงประจำโบสถ์
คริสโตฟ วิลลิบาล์ด กลุด (Christoph Willibald Gluck 1714-1798)
เกิดเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 1714 ที่เมืองอีราสบาค (Erasbach) ใกล้กับเมืองไวเดนแวง (Weidenwang) ถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนา วันที่ 15 พฤศจิกายน 1787 เขาเกิดในบาวาเรีย จากบ้านตั้งแต่อายุ 14 ปี และอยู่ที่กรุงปร๊าคหลายปี เขาเดินทางและเรียนดนตรีในเวียนนาและอิตาลี เขาเริ่มคุ้นเคยกับสไตล์ของ Baroque opera และประพันธ์ หลายโอเปร่าในสไตล์ที่มีอยู่ทั่วไป
ระหว่างปี1745 – 1760 เขาเดินทางทั่วยุโรปเพื่อสำรวจโอเปร่าในขณะนั้น ด้วยความเป็นนักทฤษฎีพอ ๆ กับความเป็นนักประพันธ์ ในปี 1761เขาเห็นว่าสิ่งสำคัญในบัลเล่ต์ (Ballet)และโอเปร่า (Opera) ควร
เป็นเรื่องราวและอารมณ์ของผู้แสดงไม่ใช่กลอุบายในการกระตุ้นความสนใจด้วยเล่ห์ ความโดดเด่นที่ผิด ๆ และเค้าโครงเรื่องประกอบมากมายซึ่งเป็นในแง่การค้าของสมัยบาโรก เขาตั้งใจแต่งโอเปร่าในปลายศตวรรษที่ 18 โดยยกเลิก Vocal virtuosity และทำให้เกิดดนตรีที่สนองความต้องการของการละคร (Drama) งานชิ้นแรกของเขาได้แก่โอเปร่า ที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ Premiered in Vienna ในปี 1762 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ ศิลปะแบบคลาสสิกของกรีก โดย Orpheus ( เทพเจ้าออฟีอูส เป็นนักดนตรียิ่งใหญ่ที่สุดในเทพนิยายโบราณ กล่าวถึงการสูญเสียภรรยาสุดที่รักของเขาแก่โลกใต้พิภพ ) สาธารณะชนในเวียนนายังไม่ได้ยอมรับผลงานของเขาในขณะนั้นจนกระทั่งปี 1770 เขาย้ายไปปารีสตามคำขอร้องของเจ้าหญิงมารี อังตัวเนตต์ ( Marie Antoinette) ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จกับโอเปร่าของเขา Orfeo and Eurydice, Alceste ในปี 1774 และ Iphigenie en Tauride ในปี 1779 ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และเป็นงานที่แข่งขันกันระหว่างกลุดกับพิชชินนี (Piccini 1728 –1800 ) ได้นำออกแสดงผลัดกันคนละหนเพื่อพิสูจน์ความดีเด่นกัน ในที่สุดกลุดก็ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พิชชินนีก็ยอมรับว่างานของกลุดชิ้นนี้ดีเยี่ยมจริง ๆ ทำให้สังคมส่วนรวมเกี่ยวกับโอเปร่าและนักวิจารณ์ยอมรับเขามากขึ้นซึ่งงานของเขาเป็นที่นิยมมากในปารีสขณะนั้น ด้วยการแต่งโอเปร่าครั้งสุดท้ายของเขาในปี 1779 เขาไปที่เวียนนาที่ซึ่งเขาถูกเชิญให้เป็นนักประพันธ์ของราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 เขาตายในปี 1787 ถึงแม้ว่าแนวดนตรีของเขาจะจบลงเมื่อเขาตาย แต่ Operatic reform ของเขาได้เป็นแบบอย่างแก่นักประพันธ์รุ่นหลังต่อมาและมีอิทธิพลต่องานแสดงดนตรีบนเวทีของ Mozart, Berliozและ Wagner

คลอด เดอบุสซี (Claude,Debussy,1862-1918)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส เกิดที่ St.Germain – en – Laye เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 1862
มีชีวิตอยู่ในปารีสเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มเรียนเปียโนกับมาดาม Maute de Fleurville ลูกศิษย์ของ โชแปง (Frederic Chopin) ต่อมาได้เรียนดนตรีในสถาบันดนตรีปารีส เขาเป็นคนที่มีความสงสัย
ในกฎเกณฑ์ทฤษฎีต่าง ๆ ที่สถาบันสอนให้อยู่เสมอ เวลาทำแบบฝึกหัดก็มักฝ่าฝืนกฎทุก ๆ ครั้ง เดอบุสซีใช้การประสานเสียงที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเองจากการที่เดอบุสซีมีความประทับใจ
ในสิ่งต่าง ๆ เขาสามารถนำเข้ามาใช้กับดนตรีเป็นความประทับใจที่เศร้าซึม เหมือนฝันและเต็มไปด้วยบรรยากาศต่าง ๆ
ผู้ประพันธ์และนักเขียนเพลง ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน 1898 บิดาเป็นชาวยิวอพยพจากรัสเซีย เกิร์ชวินเริ่มอาชีพเป็นนักเขียนเพลง ในระหว่างปี 1920-1930เพลงแรกของจอร์จ คือ Since I Found You ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน จอร์จชื่นชมผลงานของเออร์วิง เบอร์ลิน (Irving Berlin) ซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงป๊อปปูล่าสมัยนั้นเพลงที่มีชื่อเสียงเพลงแรกของเบอร์ลิน คือ Alexander’s Ragtime Band
ผลงานชิ้นเอกของเกิร์ชวินได้แก่ Rhapsody in Blue สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตราหรือวงดนตรีประเภทแจ๊ส
Cuban Overture สำหรับวงออร์เคสตรา Concerto in F สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา
Piano Preludes, Porgy and Bess (Folk opera), An American in Paris
งานชิ้นแรกสำหรับเวทบรอดเวย์คือ La La Lucille นอกจากนี้แล้วผลงานเพลง ของเกิร์ชวินถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อคีตกวี ในงานดนตรีประเภทที่เรียกว่า “เซียเรียส มิวสิค”
(Serious Music) และมีผลต่อดนตรีแจ๊ส (Jazz) การที่ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อวงการดนตรีอย่างกว้างขวางนี้แหละที่ทำให้เกิร์ชวิน และคีตกวีเอกอื่น ๆ เป็นผู้ที่
ประวัติศาสตร์ดนตรีไม่อาจตัดชื่อของเขาทิ้งไปได้ เกิร์ชวินก็หนีไม่พ้นความตายเฉกเชนกับมนุษย์คนอื่น ๆ ทั่วไป เขาจากโลกไปเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 1937 ด้วยโรคเนื้องอกในสมอง วิทยุประกาศข่าวการมรณกรรมของเขาว่า “บุรุษผู้กล่าวว่าในหัวของเขามีเสียงดนตรีมากเกินกว่าที่เขาจะสามารถบันทึกลงบนกระดาษให้หมดได้ ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้วในวันนี้ที่ฮอลลิวู้ด”

จอร์จ บิเซต์ (George Bizet, 1838-1875)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส เกิดที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1838 พ่อเป็นครูสอนร้องเพลงและแม่เป็นนักเปียโนบิเซต์เรียนดนตรีโดยแม่เป็น ผู้สอนให้โดยการสอน เอ บี ซี ไปพร้อมกับสอน โด เร มี ฯลฯ
บิเซต์ชอบดนตรีมาก เขาสามารถร้องเพลงที่ยากมากได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องดนตรีช่วยในช่วงเด็ก สร้างความภาคภูมิใจและความประหลาดใจให้แก่ทั้งครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
จากความเก่งเกินกว่าเด็กอื่น ๆ ในขณะอายุเพียง 9 ขวบ พ่อแม่จึงส่งไปทดสอบเพื่อเรียนในสถาบันการดนตรี (Conservatory) จนสามารถผ่านการทดสอบ ซึ่งนับว่าเป็นกรณีพิเศษอย่างยิ่งที่สถาบันแห่งนี้รับนักศึกษาอายุ 9 ขวบ
บิเซต์เป็นที่ชื่นชมยินดีของครูที่สอนเนื่องจากเขาเป็นคนที่สุขภาพดีหน้าตาดี อ่อนโยนด้วย
มิตรภาพ ไม่อวดเก่งและอุปนิสัยดีซึ่งเป็นคุณสมบัติที่นักดนตรีในรุ่นหลัง ๆ น่าจะให้เป็นตัวอย่างเป็น
อย่างยิ่งอายุ 18 ปี เขาก็ได้รับรางวัลปรีซ์ เดอ โรม (Prix de Rome) ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับนักประพันธ์ดนตรีวัยรุ่นให้ได้เข้าไปอยู่ใน French Academy ในโรม อิตาลีเป็นการเจือจุนให้ได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการประพันธ์ดนตรีอย่างเดียวรางวัลนี้เป็นความฝันของนักศึกษาวิชาดนตรีในฝรั่งเศสทุกคน
บิเซต์เป็นนักเปียโนฝีมือดีแม้จะไม่ได้ออกแสดงต่อสาธารณะชน เขาสามารถหาเลี้ยงชีพได้ไม่ยากนักด้วยการรับสอนแต่บิเซต์มีความทะเยอทะยานที่จะมีชื่อเสียงในฐานะทั้งนักเปียโนและ นักประพันธ์ดนตรี บิเซต์ลองทำทุกอย่างเท่าที่มีโอกาสแม้แต่การเขียนคอลัมน์ดนตรี บทความชิ้นหนึ่งของเขาพูดถึงแฟชั่นและตัวการที่มีผลต่อวงการดนตรี เขาเขียนด้วยความรู้สึกอันดีประจำตัวเขามีใจความว่า “โลกเรามีดนตรีฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน ฮังการี โปแลนด์ และอีกมากมาย…..เรามีดนตรีอนาคต ดนตรีปัจจุบันและดนตรีในอดีต แล้วก็ยังมีดนตรีปรัชญา ดนตรีการเมือง และดนตรีที่พบใหม่ล่าสุด…..แต่สำหรับข้าพเจ้าดนตรีมีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ ดนตรีดี กับดนตรีเลว”

จิอะโคโม ปุกชินี (Giacomo Puccini, 1858-1924)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1858 ที่ลุคคา (Lucca) บิดาชื่อมิเชล ปุชชินี (Michele Puccini) ซึ่งเป็น นักออร์แกนและอัลบินา ปุกชินี (Albina Puccini) มีพี่สาว 4 คน และน้องสาว 1 คน พ่อถึงแก่กรรมเมื่อปุกชินีอายุเพียง 6 ขวบ แม่ก็เป็นผู้เลี้ยงดูเพียงลำพังด้วยพลังจิตอันแข็งแกร่ง แม่มักอบรมลูก ๆ อยู่ เสมอว่า “คนขี้ขลาดจะอยู่ในโลกด้วยความลำบาก” และจากคติของชาวอิตาเลียนที่ถือว่า “ลูกแมวก็ย่อมจะจับหนูได้” (The children of cats catch mice) จึงทำให้ทางราชการเมืองลุคคา ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือครอบครัวของเขาโดยหวังว่าสักวันหนึ่งปุกชินี ต้องสามารถเป็นนักออร์แกนแทนพ่อของเขาได้
จนเมื่อปุกชินีอายุได้ 14 ปีเขาก็สามารถเล่นออร์แกนตามโบสถ์ต่าง ๆ หลายแห่งได้ตลอดจนเล่นเปียโนตามสถานที่เต้นรำได้บ้าง พออายุได้ 19 ปีก็สามารถแต่งเพลงโมเต็ต (Motet)ได้ นอกจากนี้ยังได้ทำงานเป็นนักออร์แกนประจำอยู่ San Martino ในระหว่างที่เรียนไปด้วย
ปุกชีนีเป็นคีต กวีที่มีความสามารถในด้านการประพันธ์อุปรากรโดยเฉพาะเรื่อง ลา โบแฮม (La Boheme) เป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนอารมณ์อย่างแรงเพราะปุกชินีคิดเปรียบเทียบตัวเขา เองว่าคล้ายกับโรดอลโฟ (Rodolfo) พระเอกในเรื่อง พอเรื่องดำเนินถึงบทของมิมี (Mimi) นางเอกของเรื่องกำลังจะตายปุกชินีจะนั่งน้ำตาไหลเพราะมีอารมณ์คล้อยตาม เรื่องไปด้วย
ปุกชินีได้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะ ต้องแต่งอุปรากรที่ทำความสั่นสะเทือนอารมณ์และความรู้สึกของคนทั่วทั้งโลก ให้ได้เขาจึงศึกษาและอ่านหนังสือต่าง ๆ นับเป็นพัน ๆ เรื่อง แล้วเขาจึงแต่งมหาอุปรากรเรื่องทอสกา (Tosca) ขึ้น ทอสกาเป็นมหาอุปรากรสำคัญเรื่องหนึ่งของโลกได้นำออกแสดงครั้งแรกที่โรงละคร เทียโตร กอสตันซี (Teatro Costanzi) ในกรุงโรม อิตาลี เมื่อวันที่ 14 มกราคม
ค.ศ. 1900 และในปีเดียวกันก็นำไปแสดงที่นครลอนดอน ประเทศอังกฤษ และใน นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นความสำเร็จอย่างน่าพอใจที่สุดสำหรับปุกชินี
ในบั้นปลายชีวิตของปุกชีนีได้ใช้ เวลาหาความสุขสำราญและพักผ่อนหย่อนใจอย่างเต็มที่และสนุกสนานอยู่กับการเล่น เรือยอร์ชการขับรถยนต์คันใหม่ ๆ ใช้เสื้อผ้าราคาแพง ๆ แต่เขาก็สนุกเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้ไม่นานนักก็เบื่อ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ใจเขาไม่สบายคือเรื่องผมหงอกของเขาและเขาก็พยายามย้อมให้ ดำอยู่เสมอขณะอายุ 66 ปี หมอได้ตรวจพบว่าเขาเป็นมะเร็งในหลอดลมจึงเข้ารับการผ่าตัด เมื่อการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วโรคหัวใจก็ตามมาอีก ปุกชีนี ถึงแก่กรรมในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924

จิอะซิโน รอสชินี (Gioacchino Rossini,1792-1868)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค. ศ.1792 ที่เมืองเปซาโร ( Pesaro) เรียนดนตรีครั้งแรกกับพ่อและแม่ซึ่งพ่อเป็นผู้เล่นฮอร์น และทรัมเปต ส่วนแม่เป็นนักร้องที่มีเสียงใสต่อมาจึงได้เรียนการประพันธ์ดนตรีแบบเคาน์เตอร์พอยท์ อย่างจริงจังกับTesei และ Mattei ที่เมืองโบโลญา (Bolongna) รอสชินีมีชื่อเสียงจากการประพันธ์โอเปร่า และโอเปร่าชวนหัวมีแนวการแต่งเพลงแบบค่อย ๆ พัฒนาความสำคัญของเนื้อหาดนตรีทีละน้อยไปจนถึงจุดสุดยอดในที่สุด

จิอุเชปเป แวร์ดี (Giuseppe Verdi,1813-1901)
ผู้ประพันธ์เพลงประเภทโอเปร่า ชาวอิตาเลียน เกิดที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในเมืองรอนโคล (Le Roncole) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองบุสเซโต (Busseto) เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1813
เป็นลูกชายของคาร์โล แวร์ดี (Carlo Verdi) และลุยเจีย (Luigia) เป็นผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองของอิตาลีมาตลอดนอกเหนือจากเป็นนักดนตรี
เจ้าของร้านขายของชำผู้มั่งคั่งและที่สำคัญที่สุดก็คือที่นั่นมีแกรนด์เปียโนอย่างดีทำมาจากกรุงเวียนนา แวร์ดีมักจะมาขอเขาเล่นเสมอ ๆ เมื่อบาเรสซี่เห็นหน่วยก้านเด็กคนนี้ว่าต่อไปอาจจะเป็นนักดนตรีผู้อัจฉริยะ จึงรับมาช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ร้านขายของชำของเขาในตอนเย็นหลังจากเลิกโรงเรียนแล้วจากนั้นไม่นานนักเขาก็ตัดสินใจรับเด็กน้อยแวร์ดีมาอยู่ที่ร้านและอยู่ในความอุปการะของเขา ที่นี่เองเด็กชายวัย 14 ขวบ ก็ได้เล่นเปียโนดูเอทคู่กับมาร์เกริตา (Margherita)
เด็กหญิงวัย 13 ขวบ ซึ่งเป็นลูกสาวของบาเรสซี่นั่นเอง ซึ่งต่อมาทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1836
บาเรสซี่มักจะใช้เวลาส่วนมากมาคอยดูแลและนั่งฟังเด็กน้อยทั้งสองเล่นเปียโนด้วยความพอใจอย่างยิ่งเขาให้ความรักและสนิทสนมกับเด็กน้อยแวร์ดีอย่างลูกชายของเขาทีเดียว ผลงานส่วนใหญ่ของแวร์ดี คืออุปรากรหรือโอเปร่า (Opera) เพราะสมัยของแวร์ดีนั้น ชาวอิตาเลียนชอบชมอุปรากรมากแวร์ดีเป็นคนที่มีความเสียสละมาตลอดชีวิตเมื่อภรรยาและตัวเขาเองตายไปแล้วทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ถูกนำไปใช้สร้างอาคารสงเคราะห์ให้เป็นที่พักอาศัยของนักดนตรีที่ยากจนนอกนั้นก็นำไปใช้สร้าง
โรงแสดงดนตรีแวร์ดี (Verdi Concert Hall) และพิพิธภัณฑ์แวร์ดี (Verdi Museum) ในเมืองมิลาน เป็นอนุสาวรีย์เตือนชาวโลกให้รำลึกถึงเขาในฐานะคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ของ อิตาลีและของโลก

มอริส ราเวล (Maurice Ravel,1875-1937)
เกิดวันที่ 7 มีนาคม 1875 ที่ Ciboure ใกล้กับ St.Jean de Luz ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเกือบติดเขตแดนสเปญ เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เรียน การประสานเสียงอายุ11 ขวบและเข้าศึกษาในสถาบันดนตรีแห่งปารีส (Paris Conservatory) อายุ 14 ขวบเป็นเพื่อนกับเดอบุสซี ราเวลมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับเดอบุสซีอยู่บ่อย ๆ แต่อันที่จริงแล้วดนตรีของทั้งสองต่างกันมากในสิ่งที่เรียกว่า “สไตล์” ถึงแม้ว่าราเวลจะถูกจัดว่าเป็นคีตกวีในสมัยอิมเพรสชั่นคนหนึ่ง แต่ดนตรีของเขามีสีสันไปทางคลาสสิกมากกว่า อย่างไรก็ตามราเวลก็มีชีวิตอยู่ระหว่างปลายสมัยดนตรีอิมเพรสชั่นกำลังเติบโตเต็มที่คนหนึ่ง
ชีวิตส่วนตัวของราเวลเขาไม่เคยแต่งงานเลยทั้ง ๆ ที่พบปะคุ้นเคยกับสตรีมากมายเช่นเดียว
กับเกิร์ชวินซึ่งก็ไม่ได้แต่งงานเหมือนกัน ราเวลเป็นคนร่างเล็ก แต่งตัวดีอย่างไม่มีที่ติแต่ชีวิตของเขาไม่ฟู่ฟ่า มีนิสัยชอบสันโดษอย่างมาก สำหรับเขา “ความสำเร็จ” กับ “อาชีพ” ดูเหมือนว่าจะคนละอย่างกัน ยิ่งประชาชนเพิ่มความนิยมชมชอบเขามากเท่าไรแต่เขากลับทำตัวธรรมดามากขึ้น เขาสร้างดนตรีเพราะต้องทำ ไม่เคยสร้างดนตรีเพราะต้องการความก้าวหน้าหรือเพื่อหาเงิน ไม่มีความเป็นนักธุรกิจเลยแม้แต่น้อยไม่ต้องการแม้แต่จะหาลูกศิษย์สอนเพื่อจะได้เงิน เขามีรายได้จากงานประพันธ์และการแสดงดนตรีแค่พอมีชีวิตอยู่อย่างสบาย ๆ
พอประมาณเท่านั้นลักษณะเด่นของราเวล คือ การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา

โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart 1756-1791)
ผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่งในสมัยคลาสสิกเป็นชาว ออสเตรีย กำเนิดในครอบครัวนักดนตรี เมืองซาลส์บวร์ก(Salzbutrg) เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1756 ถึงแก่กรรมที่ เวียนนา วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1791 และมีชื่อเสียงในงานประพันธ์ดนตรีประเภทซิมโฟนีเชมเบอร์ มิวสิกและโอเปร่าเมื่อเขาอายุ 4 ปี เขาสามารถเรียนดนตรีได้ครั้งละครึ่งชั่วโมงเมื่ออายุ 5 ปี เขาสามารถเล่นคลาเวียร์ ได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ เขาเขียนซิมโฟนีชิ้นแรกเมื่อเขาอายุ 8 ปี เขาเดินทางทั่วยุโรปกับพ่อของเขาชื่อ เลโอโปลด์ โมสาร์ท (Leopard Mozart 1719 –1787) ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และบางครั้งเป็นนักประพันธ์เพลงและเป็นผู้กำกับนักร้องประสานเสียงหรือวงออร์เคสตราในราชสำนักของ อาร์ชบิชอพที่ซาลส์บวร์ก(Archbishop of Salzburg) ทักษะทางคนตรีของเขาได้ปรากฏต่อ
ราชสำนักครั้งแรกที่เมืองมิวนิคในปี1762 และปรากฏต่อสาธารณะชนในระหว่างอายุ 7ถึง 15 ปี เขาใช้เวลาครึ่งหนึ่งในชีวิตในการเดินทางท่องเที่ยวไปเขาจึงซึมซับและเรียนรู้สำนวนดนตรีของยุโรปอย่างหลากหลาย สะสมจนเป็นสไตล์ของตัวเอง
ในปี 1777 เขาท่องเที่ยวไปกับมารดาของเขาที่เมืองมิวสิค แมนเฮม และปารีส และที่ ปารีส มารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันในเดือนมกราคม 1778 เขาตกงาน จึงกลับไปที่บ้านเกิดในปี1779 และได้เป็นนักออร์แกนของราชสำนักอาร์ชบิชอพ ที่ซาลส์บวร์ก (Archship of Salzburg)และถูก ปลดออกในปี 1781 หลังจากนั้นเขากลายเป็นนักดนตรีอิสระคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ดำเนินชีวิตโดยไม่ขึ้นกับราชสำนักหรือโบสถ์หรือผู้อุปถัมถ์ใด ๆ เขาย้ายไปที่เวียนนาและได้อยู่กับครอบครัว เวเบอร์ (The Webers) ซึ่งเป็นครอบครัวที่เขาพบในปี 1777 เขาแต่งงานกับคอนสตันซ์ เวเบอร์ (Constanze Weber) ในเดือนสิงหาคม 1782 หลังจากนั้นไม่นานทุกอย่างเริ่มดีขึ้น ในปี 1782
โมสาร์ทอาจจะเป็นนักประพันธ์คนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เขียนเพลงอย่างประณีตทุกรูปแบบของดนตรีตลอดชีวิตของเขา ผลงาน
ประเภทเซเรเนด (Serenades), Divertimenti,Dances ที่เขาเขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงและงานปาร์ตี้ของขุนนาง ล้วนเป็นความยิ่งใหญ่ของสมัยคลาสสิก (Classical age of elegance)และถูกดัดแปลงโดยนักประพันธ์ชื่อ Eine Kleine Nachtmusik เป็น Serenade in G major
ด้วยการจัดการการเงินที่ผิดพลาดและด้วยความไม่มีประสบการณ์ชีวิตขาดการไตร่ตรอง
และความประพฤติที่เหมือนเด็กที่ปีกกล้าขาแข็งและใช้ชีวิตอย่างเจ้านายทำให้เขาตกระกำลำบาก
ในการดำเนินชีวิตภายในปี 1790 เขาได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนหลายคนบรรยายถึงเขาและครอบครัว ( เขาและภรรยามีลูกด้วยกัน 6 คน มีชีวิตรอดอยู่เพียง 2 คน ) ความลำบากจนต้องขอทานเพื่อยังชีพ และในระหว่างนี้เอง เขาก็ป่วยหนักด้วยโรคไตแต่ด้วยความสำเร็จของ The Magic Flute เขาได้รับเงินจ่ายประจำปี เขาจึงเริ่มต้นมีความมั่นคงทางการเงินอีกครั้งในขณะที่โรคของเขานำเขาไปสู่ความตายเมื่อเขาอายุได้ 36 ปี เขาถูกฝังเหมือนชาวเวียนนาทั่วไปโดยคำบัญชาของจักรพรรดิ์โจเซฟในหลุมศพสามัญทั่วไปซึ่งที่ฝังศพแน่นอนจนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบ

โยฮันเนส บราห์มส์ (Johannes Brahms, 1833-1897)
ผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นอีกคนหนึ่งชาวเยอรมัน แต่มาตั้งรกรากใช้ชีวิตนักดนตรีจนถึงแก่กรรม ณ กรุงเวียนนาเกิดที่เมืองฮามบวร์ก (Hamburg)
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1833 บิดาชื่อ โยฮัน ยาค็อบ บราห์มส์ (Johann Jakob Brahms) ซึ่งเป็นนักดนตรีที่เล่นดับเบิลเบส (Double bass) ประจำโรงละคร
เมืองฮามบวร์ก ในวัยเด็กบราห์มส์แสดงให้พ่อเห็นพรสวรรค์ทางดนตรีพออายุราว ๆ 5-6 ขวบพ่อก็เริ่มสอนดนตรีเบื้องต้นให้ ครอบครัวของเขาค่อนข้างยากจนพ่อและแม่ต้องดิ้นรนและประหยัดเพื่อหาครูที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้มาสอนเปียโนและการประพันธ์ดนตรีให้แก่ลูกน้อยพ่อเองเคยได้รับบทเรียนมาก่อนเมื่อถูกกีดกันไม่ให้เรียนดนตรีในวัยเด็กต้องแอบฝึกซ้อมเอาเองเท่าที่โอกาสด้วยความที่พ่อเองรักดนตรีและบราห์มส์ก็ชอบดนตรีอย่างพ่อ
พ่อจึงสนับสนุนอย่างเต็มที่แม่เองก็เป็นคนที่รักดนตรีเช่นกันดังนั้นเขาจึงไม่มีอุปสรรคในเรื่องการเรียนดนตรีมีก็แต่ความขัดสนเรื่องเงิน อย่างไรก็ตามเพื่อให้ความหวังเป็นจริงพ่อจึงคิดหารายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่จึงแยกตัวออกจากวงออร์เคสตร้ามาตั้งวงขนาดย่อม ๆ แบบวงดนตรีเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) รับจ้างเล่นตามสถานที่ต่าง ๆ
บราห์มส์เรียนเปียโนกับ คอสเซ็ล (Cossel) เมื่ออายุ 8 ขวบ จากนั้นพออายุได้ 10 ขวบ ก็เปลี่ยนไปเรียนกับ มาร์กเซ็น (Marxsen) บราห์มส์ประพันธ์ดนตรีและรับจ้างเรียบเรียงแนวบรรเลงให้กับวงดนตรีเล็ก ๆ ตามร้านกาแฟและวงดนตรีของพ่อด้วย เขาเคยบอกว่ามีบ่อยครั้งที่คิดดนตรีขึ้นมาได้ระหว่างที่กำลังขัดร้องเท้าตอนเช้าตรู่ขณะที่คนอื่นยังไม่ตื่นMarion Bauer และ Ethel Peyser ได้กล่าวถึงผลงานและความสามารถของบราห์มส์ไว้ว่า “มันไม่ใช่ของง่ายที่จะเขียนถึงบราห์มส์โดยไม่ทำให้คนอ่านรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเกินความจิรง” หรือคำชื่นชมที่ว่า “ถ้าเราพูดถึงเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) เราต้องรับว่าเขาเข้าใจวิธีเขียนให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงอย่างไม่มีใครทำได้ดีเท่าทั้งก่อนและหลังสมัยของ บราห์มส์” “ใครพบที่ไหนบ้างว่ามีไวโอลิน คอนแชร์โต้ (Violin Concerto) และเปียโน คอนแชร์โต้ (Piano Concerto) ที่สวยสดงดงามยิ่งกว่าของบราห์มส์”ที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบราห์มส์ว่าเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปและผลงานของเขาก็ยังถือว่าเป็นอมตะตลอดกาล ด้วยความที่บราห์มส์เป็นคนที่สุภาพถ่อมตัวมาก หากเขายังอยู่เขาคงป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ชนรุ่นหลัง ๆ ยกย่องชมเชยเขาเนื่องจากผลงานของบราห์มส์เขียนขึ้นมาด้วยความหวังผลประโยชน์ที่เป็นวัตถุ เขาคงจะพอใจที่มีคนเข้าใจเขาเช่นนี้ เพราะมันเป็นความจริงที่เขาเองคงอยากให้คนทั้งโลกรู้และปฏิบัติตาม

ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner, 1813-1883)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองไลพ์ซิก (Leipzig)
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 มีชื่อเดิมว่า วิลเฮล์ม ริชาร์ด วากเนอร์
(Wilhelm Richard Wagner) ต่อมาเมื่ออายุ 20 ปี จึงตัด คำว่า
Wilhelm ออกคงเหลือแต่ Richard Wagner เป็นลูกคนที่ 9 ของ
ครอบครัวพ่อชื่อ ฟริดริช วิลเฮ็ล์ม วากเนอร์ (Friedrich Wilhelm
Wagner)
มีอาชีพเป็นเสมียนอยู่ศาลโปลิศของท้องถิ่นแม่ชื่อ โจฮันนา โรซีน (Johanne Rosine Wagner) หลังจาก
วากเนอร์เกิดได้ 6 เดือน พ่อของเขาก็ถึงแก่กรรมลงด้วยโรคระบาดจากนั้นแม่ก็ได้แต่งงานใหม่กับ ลุดวิก เกเยอร์ (Ludwig Gayer) ซึ่งเป็นนักแสดงละคร อาชีพและจิตรกร
วากเนอร์เป็นคนที่ไม่ค่อยยอมลงกับใครหรือยกเว้นให้แก่ใครได้ง่าย ๆ แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นพ่อ แม่ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งกษัตริย์ก็ตาม เพราะฉะนั้นเพลงแต่ละเพลง อุปรากรแต่ละเรื่องของเขาในศตวรรษที่ 19 จึงฟังดูพิลึก ๆ ชอบกล
ชีวิตในบั้นปลายของวากเนอร์เป็นไปในทำนองต้นร้ายปลายดี เพราะเขาได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญกับโคสิมาภรรยาสาวซึ่งเป็นลูกสาวของเพื่อนนักดนตรีรุ่นพี่ คือ ฟรานซ์ ลิสซต์ จนกระทั่งเธอตายในวันเกิดครบรอบ 59 ปี ของวากเนอร์นั่นเอง
ชาวเยอรมันได้วางศิลาฤกษ์ โรงละคร Festival Theater ขึ้นในเมือง Bayreuth และบ้าน Wahnfried ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่วากเนอร์และให้เป็นที่อยู่ของเขา เพราะชาวโลกได้ยอมรับแล้วว่า วากเนอร์เป็นนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
วากเนอร์มีชีวิตอยู่ทันชมอุปรากรเรื่อง Parsifal ที่เขียนสำเร็จในเดือนมกราคม ค.ศ. 1882 อันเป็นอุปรากรเรื่องสุดท้ายของเขา ซึ่งเปิดแสดงเป็นปฐมฤกษ์ที่โรงละคร Festival Theater แห่งเมือง Bayreuth เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1882 ได้ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง หลังจากไปชมอุปรากรของตนในวันนั้นแล้ววากเนอร์ก็ล้มป่วย เขาจึงเดินทางไปเวนิส (Venice) พร้อมด้วยครอบครัว และได้จบชีวิตลงด้วยโรคหัวใจวายอย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883 ขณะที่นอนอยู่บนเก้าอี้โซฟา ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี เขามีอายุได้ 70 ปี ศพของวากเนอร์ได้ฝังไว้ที่สวนในบ้าน Wahnfried ของเขาในเมือง Bayreuth เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883
ต่อมา ค.ศ. 1930 จึงได้นำศพภรรยาคนที่ 2 ของเขามาฝังไว้ข้างเคียงกันที่นั่นด้วย

โรเบิร์ท ชูมานน์ (Robert Schumann, 1810-1856 )
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมันเกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ 1810 ที่เมือง Zwickau แคว้นแซ็กโซนี (Saxony) ซึ่งห่างจากเมือง
ไลพ์ซิกประมาณ 40 ไมล์เป็นลูกคนเล็กของฟรีดริค ออกัสท์ ชูมานน์ (Friedrich August Schumann)เป็นเจ้าของร้านขายหนังสือชูมานน์เกิดในปีเดียวกันกับโชแปง เขาเริ่มฉายแววแห่งความเป็นนักดนตรีตั้งแต่อายุ 6 ขวบและสามารถแต่งเพลงได้
เมื่ออายุ 7 ขวบ ทำให้ผู้เป็นพ่อภูมิใจมากเขาจึงให้ ชูมานน์เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังขณะอายุได้ 8 ขวบ โดยเรียนกับ Johann Gottfried Kuntzsch ซึ่งเป็นนักออร์แกนที่มีชื่อเสียง พออายุ 15 มีโอกาสแสดงฝีมือเดี่ยวเปียโนที่โรงแสดงดนตรีและโรงเรียนท้องถิ่นที่เรียนอยู่ ปรากฏว่าได้รับความชมเชยจากผู้ฟังไม่น้อย ความจริงแล้วผู้เป็นพ่อตั้งใจให้ชูมาน์เป็นนักกฎหมายแต่เขาต้องการเป็น
นักดนตรีและเขาก็ทำได้สำเร็จเขาถือว่าเป็นนักดนตรีในสมัยโรแมนติกที่สร้างสรรค์ผลงานดีเด่นในรูปแบบของสมัยนี้ผู้หนึ่ง
นอกจากประพันธ์เพลงแล้วชูมานน์ยังเป็นนักวิจารณ์ดนตรีอีกด้วย ภรรยา
ของชูมานน์เป็นนักเปียโนและผู้ประพันธ์เพลง ช่วงประมาณปี ค.ศ.1854 ชูมานน์เริ่มอาการทางประสาท ซึ่งภรรยาเขามีส่วนช่วยเหลือพยาบาลชูมานน์ซึ่งป่วยเป็นโรคประสาทอย่างแรงถึงกับเคยฆ่าตัวตายแต่มีคนช่วยไว้ได้เมื่ออายุได้ 46 ปี อย่างไรก็ตามชีวิตหลังจากนั้นก็มืดมนไม่มีใครแก้ไขได้ ชูมานน์จึงถึงแก่กรรมในอีกสองปีต่อมา

อเลสแซนโดร สคาร์ลัตตี (Alessandro Scarlatti)
เขาเกิดมาในครอบครัวที่เป็นนักดนตรีโดยอาชีพ พี่น้องของเขาล้วนแล้วแต่เป็นนักดนตรีด้วยกันทั้งสิ้น จึงทำให้หนูน้อยอเลสแซนโดรเล่นดนตรีตามเขาด้วย และในจำนวน 7 คนพี่น้องนั้น อเลสแซนโดรนับว่าเป็นผู้มีพรสวรรค์มากกว่าใคร เพราะ ต่อมาภายหลังเขาเป็นได้กลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป
อเลสแซนโดร สคาร์ลัตตี เริ่มมีชื่อเสียงปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเขานำอุปกรณ์เรื่อง L’errore Innocente (หรือ Gli equivoci nel sembiante) ซึ่งแต่งขึ้นเอง ออกแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงโรม เมื่อ ค.ศ. 1679 จากการแสดงอุปกรณ์ในครั้งนี้ เป็นผลให้พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดน (Queen Christina of Sweden) ซึ่งประทับอยู่ในกรุงโรม ทรงสนพระทัยในตัวเขามาก จึงได้ตกลงว่าจ้างเขาให้เป็นผู้กำกับวงดนตรีประจำโรงละครส่วนพระองค์ อเลสแซนโดรทำงานให้พระนางคริสตินาเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1680-1684 และได้แต่งเพลง L’onesta negli amori (ค.ศ. 1680) Il Pompeo (ค.ศ. 1683) และหลังจากนั้นเขาก็ได้เดินทางไปเมืองเนเปิลส์ (Naples) และเปิดการแสดงเพลง Il Pompeo ที่นั้นเมื่อ ค.ศ. 1684 หลังจากแสดงเรื่องนี้แล้ว เขาก็ได้รับตำแหน่งผู้กำกับวงดนตรีของราชสำนักเมืองเนเปิลส์ ทำงานตั้งแต่ ค.ศ. 1684-1702 ในระหว่างที่อยู่กรุงโรมนั้น เขามีครอบครัวแล้ว มีลูก 5 คน ชาย 3 คน หญิง 2 คนและเมื่อย้ายมาอยู่เมืองเนเปิลส์ได้เพียงปีเดียว เขาก็ได้ลูกคนที่ 6 เป็นชาย ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อว่า โดเมนีโค สคาร์ลัตตี (Domenico Scarlatti) ซึ่งต่อมาก็เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
อเลสแซนโด ทำงานอยู่ที่ราชสำนักเมืองเนเปิลส์เป็นเวลานานถึง 18 ปี จึงลาออกไปอยู่ที่ฟลอเรนซ์ (Florence) ในระหว่างปี ค.ศ 1702-1703 โดยทำงานเป็นนักแต่งเพลงประจำโรงละคร อุปกรณ์ของเจ้าชายเฟอร์ดินันโด ที่ 3 เดอ เมดิซี (Prince Ferdinando III de Medici) แห่งทุสคานี (Tuscany) ทำงานอยู่ได้ปีเดียวก็ย้ายกลับไปอยู่ที่โรมอีกและได้ตำแหน่งเป็นครูผู้ควบคุมหมู่นักร้องเด็ก ๆ ในโบสถ์ (Choirmaster)ซันตามาเรียในกรุงโรม (Santa Maria Maggiore in Rome) สืบต่อจาก Ant.Foggia ในขณะเดียวกันก็ได้เป็นนายวงดนตรีให้แก่ คาร์ดินัล ปิโตร ออตโตโบนี (Cardinal Pietro Ottoboni) ค.ศ. 1709 จึงย้ายครอบครัวไปอยู่ที่เมืองเนเปิลส์อีกระยะหนึ่ง และได้ไปเป็นผู้กำกับวงดนตรีให้แก่ออสเตรียน ไวซ์รอย (Austrian Viceroy) จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของสถาบันการดนตรี Conservatory di Sant’ Onofrio และในขณะเดียวกันก็ได้เป็นครูสอนดนตรีให้แก่สถาบันการดนตรีซันมาตาเรียดิลอเรโท (Conservatorio di Santa Maria di Loreto) อีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1719 กลับมาที่โรมอีกครั้งและอยู่ที่นี่ประมาณ 5 ปี เมื่อถึง ค.ศ 1723 จึงเดินทางไปอยู่เนเปิลส์อีก 2 ปี จนกระทั่งถึงแก่กรรม

อันโทนิน ดวอชาค (Antonin Dvorak,1841-1904)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวโมฮีเมียน (เชคโกสโลวาเกีย) เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน
ค.ศ. 1841 ที่เมืองเนลาโฮเซเวส (Nelahozeves) บิดาชื่อฟรันซ์
ดวอชาค (Franz Dvorak) มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ดวอชาคเป็นผู้ประพันธ์เพลงในกลุ่มชาตินิยม ลักษณะที่สังเกตง่ายในดนตรีของดวอชาคนั้นก็เช่นเดียวกับดนตรีของบราห์มส์ (Brahms) และไชคอฟสกี (Tchaikovsky) ซึ่งอยู่ในสมัย โรแมนติกเช่นกันกล่าวคือมีลีลาที่ชวนให้ตื่นเต้นและการเรียบเรียงแนวบรรเลงสำหรับวงออร์เคสตราดีเลิศ
ดวอชาคประพันธ์เพลงไว้เกือบทุกประเภทที่นิยมกันในสมัยโรแมนติก แต่ที่เด่นกลับเป็นงาน ในแบบบรรเลงมากกว่าแบบร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรเลงด้วยวงออร์เคสตราที่เรียกว่ “ออร์เคสทรัล มิวสิค” (Orchestral Music)

อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg,1874-1951)
เกิดที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 1874 ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์เพลงไว้หลายรูปแบบตามแนวความคิดในช่วง ปลายสมัยโรแมนติก โดยเริ่มต้นในฐานะผู้ที่เดินตามรอยของ
วากเนอร์ (Wagner) สเตราส์ (R.Strauss) มาห์เลอร์ (Mahler) และบราห์มส์ (Brahms) โชนเบิร์กได้ศึกษาดนตรีกับครูอย่างจริงจังเพียงเครื่องไวโอลินเท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เขาใช้เวลาว่างในการฝึกหัดเล่นเอาเองทั้งนั้น ไม่ได้เรียนจากใครเลยแต่เขาก็สามารถเล่นได้ดีทุกอย่าง
สไตล์การแต่งเพลงของโชนเบิร์กเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเขาได้ริเริ่มคิดการแต่งเพลงโดยใช้แนวคิดใหม่คือใช้ระบบทเว็ลฟ-โทน (Twelve Tone System) คือการนำเสียงสูง – ต่ำทั้งหมด 12 เสียง มาเรียงกันเป็นลำดับที่แน่นอนโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเสียงหลัก (Tonic) ซึ่งหลักสำคัญคือ ทฤษฏีที่ว่าด้วยเสรีภาพของเสียงและความสำคัญเท่าเทียมกันของเสียงทุกเสียง
ในดนตรี (The Freedom of Musical Sound : The Atonality) อันเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของดนตรี “เซียเรียล มิวสิก” (Serial Music) ซึ่งพัฒนาความคิดรวบยอด
ของมนุษย์ในปรัชญาดนตรีแห่งศตวรรษที่ 20 ให้ก้าวไกลควบคู่ไปกับวิทยาการสมัยใหม่
โชนเบิร์กใช้ “ระบบทเว็ลฟ - โทน” ในผลงาน หมายเลขสุดท้ายของ Five Pieces for Piano ในปี
1923 และในท่อนที่ 4 ของ Serenade ในปีเดียวกัน ผลงานการประพันธ์ชิ้นแรกของโชนเบิร์กที่สร้างขึ้นด้วย
“ระบบทเว็ลฟ - โทน” โดยตลอดคือ Suite for Piano ในปี 1924 ระบบ “ระบบทเว็ลฟโทน” กลายเป็นเครื่องมืการทำงานของโชนเบิร์กที่เขาใช้ด้วยความชำนาญอย่างน่าพิศวงและไม่ซ้ำซากจำเจ นอกจากประสบความสำเร็จในด้านการต้อนรับของผู้ฟัง แล้วยังก่อให้เกิดประโยชน์การนำไปสู่แนวคิดความเข้าใจเรื่องดนตรีซึ่งแตก ต่างไปจากเดิมที่ยึดถือกันมากว่า 300 ปี

อีกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinky,1882-1971)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียโดยกำเนิด เกิดวันที่ 17 มิถุนายน1882 ที่เมือง โลโมโนซอบใกล้กับเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กแล้วย้ายมาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส
จากนั้นย้ายมาตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา พ่อเป็นนักร้องโอเปร่าประจำเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กและหวังที่จะได้เห็นลูกเรียนจบกฎหมายและทำงานราชการ ชีวิตในตอนเริ่มต้นของสตราวินสกีคล้ายกับไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ตรงที่ได้เรียนเปียโนตั้งแต่วัยเด็ก โดยที่บิดามารดาไม่ได้หวังให้เอาดีทางดนตรี ดังที่กล่าวข้างต้น
เขาได้เรียนการประพันธ์ดนตรีกับริมสกี้ คอร์ชาคอฟ (Rimsky - Korsakov) สตาวินสกีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของวงการดนตรีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่1ด้วยผลงาน
เพลงประกอบบัลเล่ท์ The Firebird, Petrushka, และ The Rite of Spring (Le sacre du Printemps)เป็นเพลงประกอบบัลเล่ย์เริ่มการประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1910 เขียนไปเรื่อย ๆ กระทั่งวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1913 จึงเขียนเสร็จให้นักดนตรีฝึกซ้อมแล้วนำออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1913 ณ The Theatre des Champs-Elyseesกรุงปารีส
โดยมีปิแอร์ มองตัว (Pierre Monteux) เป็นผู้ควบคุมการบรรเลง
สตาวินสกีประพันธ์ดนตรีจนกระทั่งวาระสุดท้าย เขาสิ้นชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ1971 ที่เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมอายุได้ 89 ปี นับว่าเป็นคีตกวี ที่อายุยืนมากคนหนึ่ง เข้าแจ้งความประสงค์ก่อนตายว่าอยากให้ฝังศพของเขาไว้ใกล้ ๆ หลุมศพของดีอากีเล็ฟ ที่สุสานซานมีเช็ล (San Michele) ในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ทางการอิตาลี ให้มีการจัดขบวนแห่ศพไปตามคลองเมืองเวนิซมุ่งสู่สุสานแห่งนั้น ซึ่งมีมุมหนึ่งเป็นสุสานสำหรับคนรัสเซียโดยเฉพาะ