ดังที่เราได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ธรรมชาติให้มนุษย์ติดตัวมาทุก ๆ คน
คือ “เสียง” เสียงพูด เสียงตะโกน เสียงที่แสดงความดีใจ เสียใจ เสียงร้องเพลง ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วน
แล้วแต่มีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันคือ “เส้นเสียง” (Vocal chord) เส้นเสียงของมนุษย์เรานั้น
มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เช่น ในวัยเด็กชายประมาณ 15-16 ปี ในเด็กหญิงอาจจะเร็วกว่าเด็ก
ชายประมาณ 14-15 ปี แต่ถึงอย่างไรก็ตามเส้นเสียงดังกล่าวนี้มนุษย์เราสามารถใช้ได้จนถึงสิ้น
อายุขัยไปเลย
วิลเลียม เบิร์ด (William Byrd) คีตกวีชาวอังกฤษสมัยพระนางเอลิซาเบ็ธที่หนึ่ง ได้สดุดี
เสียงขับร้องของมนุษย์ไว้ว่า “เสียงของเครื่องดนตรีชนิดใดที่จะอาจเอื้อมมาเทียบกับเสียงขับร้อง
ของมนุษย์ได้นั้นไม่มี”
ดนตรีประเภทขับร้องมีหลายประเภทดังนี้
ี้ดนตรีขับร้องประกอบพิธีกรรม (Ritual Music)
ดนตรีได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มานานแล้วมนุษย์เราทุกคนเกิดมาล้วนแล้ว
แต่มีความหวาดกลัวติดตัวมาทุกคนซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดดนตรีขึ้น กล่าวคือ การเกิด
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ฝนตก ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกชนชาติ
ทุกภาษาเกิดความกลัว ความกังวลใจ โดยคิดไปว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากสิ่งที่มองไม่เห็น หรือมี
ความเชื่อว่าเป็นจากการกระทำของภูตผีปีศาจ ฉะนั้น การที่จะทำให้ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ให้หายไปก็สามารถทำได้โดยการบวงสรวง โดยการเต้นรำ การร้องเพลง เพื่อเป็นการอ้อนวอนต่อ
เทพเจ้า หรือเป็นการตอบแทนในความปรานีและอีกนัยหนึ่งก็เพื่อทำให้เกิดความสบายใจของ
มนุษย์เรา
จากจุดนี้เองได้มีนักปราชญ์ได้สันนิษฐานว่าเป็นต้นกำเนิดของดนตรีโดยมีการพัฒนาต่อ
มาจากบทร้องเพื่ออ้อนวอนต่อเทพเจ้าก็กลายมาเป็นเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาในสมัยต่อมาซึ่งมี
ลักษณะทำนองเพลงสั้น ๆ ขับร้องซ้ำ ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง จากการขับร้องคนเดียวกลายมาเป็นการ
ขับร้องที่มีต้นเสียงและมีลูกคู่ตาม จนเป็นการขับร้องหมู่ชายหญิงประสานเสียงที่มีลักษณะต่าง ๆ
กันออกไปตามสมัย
ดนตรีประกอบพิธีกรรมหรือเพลงศาสนาเป็นดนตรีที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อถือในลัทธิ
ในขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตามที่มนุษย์เผ่าพันธุ์ต่าง ๆ สมมติ
ขึ้น และมีส่วนสำคัญที่ทำให้ศาสนารุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาคริสต์
แชนท์ (Chants) เป็นเพลงสวดของศาสนาคริสต์ในศาสนกิจต่าง ๆ ในสมัยต้นคริสต์
ศตวรรษ เป็นการขับร้องล้วนไม่มีดนตรีประกอบ ผู้ร้องต้องใช้เสียงแสดงออกถึงความปิติ ความ
เลื่อมใส ศรัทธา ในองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อสรรเสริญสดุดี เพื่อขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้า
ลักษณะของเพลงแชนท์มีทั้งการใช้คำร้อง 1 พยางค์ต่อเสียงหนึ่งหรือ 2 เสียง หรือใช้คำร้อง
1 พยางค์ต่อเสียง สองถึงสี่เสียง และที่มีเสียงแต่ละพยางค์เอื้อนยาว ในระยะแรกที่ศาสนาคริสต์ได้
รับความเลื่อมใสศรัทธาในภาคตะวันออกของทวีปยุโรปภาษาที่ใช้ในบทสวดและใช้ขับร้องด้วยเป็น
ภาษากรีก ต่อมาศาสนาคริสต์ได้แพร่หลายมาทางทวีปยุโรปตอนกลางและทางทิศตะวันตก ใน
สมัยอาณาจักรโรมันผู้ร่ำรวยศิลปะและวัฒนธรรมเรืองอำนาจ ภาษาละตินจึงได้รับเลือกเป็นภาษา
ของศาสนาคริสต์ เป็นบทสวดและใช้ขับร้องตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 350 เป็นต้นมา
เพลงแชนท์ที่มีชื่อเสียงใช้กันมาจนปัจจุบันคือ เกรเกอเลียนแชนท์ (Gregorian Chant) ซึ่ง
เป็นเพลงแชนท์ทีพระสังฆราชเกรเกอเลียนมหาราช (Pope Gregory the Great) เป็นผู้รวบรวมแชนท์ที่มีใช้อยู่แล้ว
และแต่งเพิ่มเติมขึ้นอีกแล้วจัดลำดับบทเพลงสวดให้เป็นแบบฉบับ เป็นหลักปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่
ค.ศ. 600 โดยมีเนื้อร้องเป็นภาษาละติน
ออร์กานุ่ม (Organum)เป็นบทเพลงศาสนาร้องประสานเสียงแบบโพลิโฟนิค
(Polyphonic Style) ซึ่งเป็นการริเริ่มการประสานเสียงครั้งแรกในดนตรีตะวันตก คือ การใช้ทำนอง
เพลงสอดประสานในระหว่างทำนองเพลงด้วยกันเอง ทำให้เกิดเสียงประสานขึ้นการขับร้อง
ประกอบด้วยแนวทำนองหลัก 2 แนว ผู้ร้องทั้ง 2 แนวจะขับร้องกันคนละทางแต่การร้องจะดำเนินไป
ในเวลาเดียวกันตั้งต้นจนจบ (สุมาลี นิมมานุภาพ, 2534: 360)
โมเท็ต (Motet)
โดยปกติแล้วจะอยู่ในตำราทางศาสนา (Sacred text) และใช้ในพิธี
กรรมของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค (Roman Catholic) โมเท็ต กำเนิดขึ้นในต้นศตวรรษที่
13 ในขณะนั้น นักประพันธ์เพลงมักแต่งบทประพันธ์ที่เสริมแต่งประดับประดาเกรเกอเลียนแชนท์
(Gregorian Chant) เขียนเป็นโน้ตแนวต่ำสุด เป็นเพลงขับร้องประสานเสียง 3 แนว เดิมใช้ภาษา
ละติน ส่วนแนวบนอีก 2 แนว เป็นทำนองเพลงที่มีอิสระต่างจากแนวต่ำสุดที่ร้องเป็นภาษาละติน
และร้องเป็นภาษาฝรั่งเศส โมเท็ตจึงเป็นเพลงขับร้องที่มีอิสระทั้งทำนองเพลง จังหวะ ภาษา และ
เนื้อร้อง (สุมาลี นิมมานุภาพ, 2534: 360-361)
ออราทอริโอ (Oratorio) ออราทอริโอ (Oratorio)
คือ บทเพลงที่ประกอบไปด้วยการร้องเดี่ยวของนักร้องระดับเสียง
ต่าง ๆ การร้องของวงประสานเสียง และการบรรเลงของวงออร์เคสตรา ซึ่งบทร้องเป็นเรื่องราวขนาด
ยาวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ แสดงในโรงแสดงคอนเสิร์ตหรือในโบสถ์ โดยไม่มีการแต่งตัวแบบละคร
ไม่มีการแสดงประกอบ และไม่มีฉากใด ๆ ในขณะแสดง ลักษณะของออราทอริโอ (Oratorio)
คล้ายกับโอเปราที่ไม่มีฉากและการแสดงประกอบนั่นเอง ลักษณะเด่นที่ต่างไปจากเพลงโบสถ์อื่น ๆ
ได้แก่ การประพันธ์บทร้องที่คำนึงถึงดนตรีประกอบมิได้มุ่งถึงบทร้องที่นำมาจากบทประพันธ์ของวัด
แต่ดั้งเดิม ดังเช่นเพลงโบสถ์ลักษณะอื่น ๆ นอกจากนี้ออราทอริโอยังเป็นเพลงที่มีความยาวมากซึ่ง
ต่างไปจากแคนตาตาอันเป็นบทเพลงที่สั้นกว่า ออราทอริโอบางบทถ้าแสดงโดยสมบูรณ์อาจจะยาว
ถึง 4-6 ชั่วโมง ในปัจจุบันการแสดงเพลงประเภทนี้จึงมีการตัดเพลงบางท่อนออกไปเพื่อลดเวลา
การแสดงให้เหมาะสมกับโอกาส
ออราทอริโอมีกำเนิดขึ้นโดยผู้ประพันธ์เพลงนาม Carisimi(1605-1674) แต่นั้นมา นักประพันธ์เพลงผู้มีชื่อเสียงในแต่ละสมัย
ล้วนประพันธ์เพลงประเภทนี้ไว้เสมอ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Christmas Oratorio ของบาค Isarael in Egypt และ Messiah ของ
Handel,The Creation และThe Seasons ของไฮเดิล (The Seasons มีบทร้องเกี่ยวกับฤดูต่าง ๆ มิได้เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยตรง
แต่ประการใด) Mount of Olives ของเบโธเฟน St. Paul Elijah ของเมนเดลซอน และ The Legend of St. Elizabeth ของลิสซต์
เป็นต้น (ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2535: 125)
ในด้านผู้ชมจำเป็นที่ต้องทราบว่าเมื่อนักร้องประสานเสียงร้องถึงบทที่44เมื่อถึงคำว่า“Hallelujah”
ทุกคนในโบสถ์หรือหอประชุมจะลุกขึ้นยืน การลุกขึ้นยืนในตอนที่ร้องถึง“Hallelujah” ก็สืบเนื่องมาจากในครั้งที่ Handel ยังมีอยู่ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1743 ในการเสนอ “The Messiah” ต่อผู้ชมครั้งแรกในกรุงลอนดอน พระเจ้ายอร์จที่ 2 (King George II) ทรงพอพระทัยมาถึงกับประทับยืน เมื่อคณะนักร้องประสานเสียงร้องถึง “Hallelujah” ทุกคนในที่นั้น
จึงต้องลุกขึ้นยืนตาม จนกระทั่งการร้องบทนั้นจบ จึงถือเป็นประเพณีสืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้
แคนตาตา (Cantata) แคนตาตา(Cantata) คือ บทประพันธ์ประเภทเพลงร้องที่นิยม
ประพันธ์กันในสมัยบาโรค ประกอบไปด้วยเพลงร้องหลายท่อน
ได้แก่ การร้องเดี่ยว การร้องคู่ การร้องในลักษณะของการพูด
(Recitative) และการ้องประสานเสียง บทร้องมีทั้งเกี่ยวข้องกับ
ศาสนา และเรื่องทั่ว ๆ ไป บาคซึ่งประพันธ์แคนตาตาไว้มากมาย
ล้วนเกี่ยวข้องกับศาสนาแทบทั้งสิ้น กล่าวคือประพันธ์แคนตาตา
(Cantata) เกี่ยวกับศาสนาไว้ประมาณ 200 บท และแคนตาตา
ในลักษณะอื่น ๆ ไว้ประมาณ 25 บท รูปแบบสำหรับแคนตาตา
เกี่ยวกับศาสนามักจะประกอบไปด้วย การเริ่มต้นของการร้อง
ประสานเสียงที่ยืดยาวลักษณะของฟิวก์ ติดตามด้วยการร้อง
เดี่ยวและการร้องในลักษณะของการพูดของผู้ร้องเสียงต่าง ๆ ปิด
ท้ายด้วยการร้องประสานเสียงสี่แนวแบบเพลงสวด (Chorale หรือ Hymn เช่นChrist lagin
todesbanden, Ein Feste burg ist unser Gott Coffe ส่วนแคนตาตาเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ไปเช่น
Cantata Peasant Cantata)
ผู้ประพันธ์คนอื่น ๆ ที่ประพันธ์แคนตาตาไว้นอกจากบาค ได้ ทันเดอร์ บุกสเตฮูเด สการ์
แลนตตี คาริสซิมี คัมปา และราโม เป็นต้น (ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2535: 126)
แมส (Mass)แมส คือ บทเพลงสวดของชาวโรมันแคธอลิค มีพิธีสวดเรียกว่า พิธีแมส หรือ พิธีมิสซา เป็น
พิธีสวดมนต์ในพิธีถวายมหาบูชาแก่พระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนรวมไปถึงการเทศน์ของบาทหลวงด้วย
มีบทสวดต่าง ๆ ตามแต่บาทหลวงจะเป็นผู้กำหนดเป็นภาษาละติน ปัจจุบันแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ที่
ใช้กันทั่วโลก บทสวดเหล่านี้ถูกนำมาใส่ทำนองที่แต่งขึ้นลึกซึ้งพิสดารออกไปทุกที เพื่อแสดงความ
เลื่อมใสศรัทธาในองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างสุดความสามารถของคีตกวี บทสวดในพิธีแมสหรือมิสซา
จึงกลายเป็นชื่อ เพลงแมส หรือ เพลงมิสซา ไปเพราะฉะนั้นเพลงแมส ก็คือ เพลงขับร้องประสาน
เสียงชั้นสูง ที่คีตกวีแต่งทำนองร้องประสานเสียง โดยมีเนื้อร้องเป็นบทสวดภาษาละติน 5 บทด้วย
กัน โดยเริ่มจากบท Kyrie “Lord have mercy”, Gloria, Credo, Sanctus, และ Agnus Dei
เป็นต้นไป ในบางตอนของเพลงแมสจะมีการขับร้องเดี่ยว หรือเดี่ยวประกอบการประสานเสียงเพลง
มิสซา มี 3 ประเภท คือ (ดนัย ลิมปดนัย,2522 :75)
Missa Brevisเป็นบทสวดประสานเสียงสั้น ๆ ทีมักจะสวดกันเพียง 2 บท คือ บท Kyrie
และ Gloria
Missa Solemins เป็นเพลงแมสที่ยาวที่สุด ประกอบด้วยเพลงย่อย ๆ หลาย ๆ เพลง ใช้ใน
งานที่เป็นพิธีรีตรองสำคัญ ๆ เช่น เพลง Mass in D, Op. 123 ของ Beethoven
Missa Prodefunctus (Requiem) หรือ the Mass for the Dead มักเรียก Missa
Requiem เรควิเอียม (Requiem Mass) คือ เพลงสวดสำหรับงานศพ เรียกว่าแมสแห่งความตาย
เพื่อสวดอ้อนวอนพระเจ้าให้มารับดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ โดยทั่วไปคีตกวีจะทุ่มเทแรง
ใจแรงกายแต่งเรควิเอียมขึ้นเพื่อไว้อาลัยใคร อาจจะเป็นบุคคลผู้เป็นที่รักยิ่ง บุคคลที่ตนเคารพนับ
ถือ เมื่อสิ้นชีวิตลงคีตกวีผู้มีความผูกพันกันก็จะแต่งเรควิเอียมขึ้นอย่างเต็มความสามารถ เพื่อแสดง
ถึงความระลึกถึง ความผูกพัน ความรักอาลัย ที่คีตกวีมีต่อผู้ตาย
เนื้อหาโดยปกติประกอบไปด้วยท่อนต่าง ๆ ดังนี้ Introit, Kyrie, Gradual, Tract, Dies
Irae, Offertory, Sanctus, Agnus Dei และ Communion
ไม่ว่าจะเป็นเพลงสวดธรรมดา หรือเพลงสวดในงานศพ จัดได้ว่าเป็นเพลงขนาดใหญ่
ต้องการความสามารถในการประพันธ์เป็นอย่างมาก เพลงประเภทนี้จึงมีความยาวมากมีหลาย
ท่อน การร้องมีทั้งร้องเดี่ยว ร้องผสมวง และการร้องแบบประสานเสียงวงใหญ่รวมทั้งวงออร์เคสตรา
คีตกวีแต่ละคนที่ประพันธ์เพลงเหล่านี้ จึงมักใช้เวลาในช่วงที่ตนมีความชำนาญมากแล้วหรือในช่วง
มีอายุแล้วประพันธ์เพลงเหล่านี้ ซึ่งนอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้วยังถือเป็นเพลงชั้นสูงถ้าไม่แน่ใจ
หรือไม่ตั้งใจจริงแล้ว ผู้ประพันธ์เพลงจะไม่คิดประพันธ์เพลงประเภทนี้ โมทซาร์ทซึ่งจัดเป็นผู้
ประพันธ์เพลงอัจฉริยะผู้หนึ่ง ประพันธ์เพลงแมสธรรมดา ไว้สองเพลง และประพันธ์เรควิเอียมไว้ 1
เพลง แต่ตอนท้ายประพันธ์ไม่จบเสียชีวิตเสียก่อน ลูกศิษย์ผู้หนึ่งคือ ซูสไมเออร์ประพันธ์ต่อจนจบ
ตามโครงสร้างที่โมทซาร์ทได้วางไว้
แมสจึงจัดเป็นเพลงที่ต้องใช้ความสามารถในการประพันธ์มาก การแสดงเพลงประเภทนี้ก็
ต้องการการเตรียมตัวอย่างมากทั้งผู้ร้องและวงออร์เคสตรา รวมทั้งผู้จัดการแสดง ดังนั้นเมื่อมีการ
แสดงเพลงประเภทนี้เมื่อใด ผู้ฟังมักจะตื่นเต้นและตั้งใจไปฟังเสมอ ซึ่งก็ไม่บ่อยครั้งนักที่จะมีการ
แสดงเพลงประเภทนี้
|